วิรัตน์ แม่ฮ่องสอน
วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทรางวัลขับเคลื่อนเห็นผล โดยการตรวจประเมิน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting) โดยมีนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายอำเภอปางมะผ้า สาธารณสุขอำเภอปางมะผ้า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปางมะผ้า คณะผู้บริหาร โรงพยาบาลปางมะผ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้แทนจากภาคส่วน ต่าง ๆ อาทิ Shan Health / ผู้นำชุมชน และ อสม. ร่วมรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริการภาครัฐ ประเภทรางวัล ขับเคลื่อนเห็นผล ชื่อ ผลงาน “โรงพยาบาลอินเตอร์ของชนเผ่ากลางขุนเขาที่ห่างไกล”
ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ภายใต้บริบทความเป็นแม่ฮ่องสอน ที่มีความแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ไม่ว่า จะเป็นลักษณะทางภูมิประเทศ ความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ไว้ว่า “แม่ฮ่องสอนเมืองแห่งความสุขยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” โดยเร่งแก้ปัญหาความยากจน การสร้างการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมและ พัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาอาชีพและรายได้ ควบคู่กับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้ประชาชน เข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การดำเนินงานของโรงพยาบาลปางมะผ้า เป็นการบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การกำกับของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดด ถือว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการ ที่ประสบความสำเร็จ มีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบด้านการให้บริการ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ภายใต้วิสัยทัศน์ “แม่ฮ่องสอนเมืองแห่งความสุข ยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” มีประเด็นการพัฒนาจังหวัด 6 ประเด็น ซึ่งในประเด็นที่ 4 การยกระดับคุณภาพชีวิตลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีจุดเน้นการพัฒนา คือ การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง มีกลไกและทิศทางการขับเคลื่อนการทำงานของผู้บริหารจังหวัด เพื่อให้เกิดสุขใน 6 ด้าน โดยในด้านที่ 3 คือ สุขที่คุณภาพชีวิตดี โดยนำหลักการ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมรับผิดชอบ ร่วมติดตามงานและร่วมรับประโยชน์” มาใช้ในการทำงานผ่านเวที การรับฟังความคิดเห็นในเวทีต่าง ๆ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
/////////////////
Discussion about this post