มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย นักวิจัยโครง การ “การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล ราชธานี” ลงพื้นที่ประชุมหารือความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นและเอกชนในพื้นที่ และเครือข่ายบุคลากรในพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม อำเภอโขงเจียม เพื่อจัดเตรียมงานอนุ รักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ “ม่วนซื่นชื่นบาน สงกรานต์แสงแรก@โขงเจียม” ที่กำหนดจะจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2567 ณ ลานชมจันทร์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
โดยมี นายอมร พรมสอน นายอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการต่างประเทศ ดร.ปาณมน จันทบุตร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารศาสตร์ และ ดร. สมปอง เวฬุวนาธร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวิชาชีพ คณะวิทยาศาสตร์ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าร่วมการประชุมและสำรวจพื้นที่เตรียมจัดงาน เพื่อร่วมสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลองที่ UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียนสงกรานต์ในประ เทศไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” ลำดับที่ 4 ทีมนักวิจัยฯ และชาวอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ขอร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนจากทั่วโลก ที่จะเดินทางมาร่วมสัมผัสประสบการณ์ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสู่การท่องเที่ยว การสร้างรายได้ และการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และองค์กรชุมชนรายเดิมและรายใหม่ การพัฒ นานวัตกรรมที่เป็นกลไกหรือระบบที่ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากที่ใช้ได้จริง
ศาสตราจารย์ ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการวิจัย “การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมหาวิทยาลัยอุบลราช ธานี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในการนี้ จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์อำเภอโขงเจียม “ม่วนซื่นชื่นบาน สงกรานต์แสงแรก@โขงเจียม” ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2567 ชมริ้วขบวนแห่นางสงกรานต์ 8 คุ้ม ร่วมสรงน้ำพระฮางฮด ที่วัดโขงเจียม
โดยมีพิธีเปิดงานสงกรานต์ แสงแรก@โขงเจียม ณ ถนนสายน้ำ(อุโมงค์น้ำ + ซุ้มน้ำของแต่ละหน่วยงาน) หน้าสถานีตำรวจอำเภอโขงเจียม พิธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ กินข้าวแลง แญงโขง ชมการประกวดร้องลำทำนองไทอีสาน(ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) ชมการแสดงวงสาวน้อยสองสี และรำวงย้อนยุค ณ เวทีลานชมจันทร์ พิธีทำบุญตักบาตร บริเวณบันไดนาค การประกวดก่อเจดีย์ทราย ณ วัดโขงเจียม ชมคอน เสิร์ต “ม่วนชื่น ชื่นบาน รำวงย้อนยุค” ชมคอน เสิร์ตและการแสดงจากวงดนตรีร้านเช็คชื่อ/ขาขึ้น/แสงตะวัน ประกาศผลการประกวดขบวนแห่จากคุ้มต่าง ๆและมอบรางวัล เชิญชม..ชิม..ช้อป.. อิ่มอร่อยกับอาหาร การจำหน่ายสินค้า “ตลาดไทย-ลาว” การออกร้านอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอโขงเจียมตลอดการจัดงาน 3 วัน 3 คืน ณ ลานชมจันทร์ หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ที่ 4 ในการอนุรักษ์ สืบสานและสร้างมูลค่าให้แก่ศิลปวัฒน ธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำเทคโน โลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้กับเด็ก ๆ เยาวชน ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านด่าน ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างการตระหนักรู้และสำนึกรักษ์ท้องถิ่น โดยความร่วมมือ แบ่งปัน เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจที่ให้ความร่วมมือ ด้านการศึกษาสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม และสร้างการตระหนักรู้และสำนึกรักษ์ท้องถิ่น ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการศึกษาภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์(ภาพเขียนสีผาแต้ม) ที่ตั้งอยู่ภาย ในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นสถานที่ที่ค้นพบร่องรอยลักษณะการใช้สีโบราณเขียนลงบนผนังถ้ำ มีอายุกว่า 4,000 ปี ถือว่าเป็นแหล่งอารย ธรรมที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวและเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ครั้งก่อนประวัติ ศาสตร์ เพื่อความสะดวกและเข้าถึงการรับชมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มในทุกช่วงวัย
ทีมนักวิจัยจึงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้และการรับชม โดยพัฒนาผ่านระบบจำลองผาแต้มเสมือนจริงมองเห็นทิวทัศน์ 360 องศา ทั้ง 4 กลุ่มภาพเขียนสี ผ่านการใช้งานบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทร ศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และแว่น VR หรือรับชมผ่านทางลิงค์ “ผาแต้มเสมือนจริง 360 องศา” ได้ที่ https://khongchiam.ubu. ac.th/vt/ และทีมนักวิจัยฯ ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัม พันธ์การอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของนักเรียนโรงเรียนโขงเจียมวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี วง “เพชรผาแต้มกลองยาว” เป็นการรวมตัวฝึกซ้อมของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนโขงเจียม โชว์ความพร้อมเปิดตัวรับงานแสดงของน้อง ๆ นักเรียน และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขวัญและกำลังใจ โชว์แสดงเพชรผาแต้มกลองยาวครั้งแรก ณ ลานชมจันทร์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองคิวแสดงของน้อง ๆ วง “เพชรผาแต้มกลองยาว” และ “วงโปงลางเพชรผาแต้ม” ได้ที่โทรศัพท์ 08-2517-8099 และ 08-34185565
Discussion about this post