วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ นายชัชวาลย์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานเปิดโครงการอาสาสมัครฉุกเฉินชุมชน : กิจกรรมจัดทำบันทึกข้อตกลงการดำเนืนงานและบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และเปิดศูนย์รับแจ้ง
เหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน จ.เชียงใหม่ (ศูนย์เอราวัณ) มีเรืออากาศเอก นพ.อัจริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์แห่งชาติ (สพฉ.)นพ.จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงษ์
อดิษร หรือ ส.ว.ก๊อง นายก อบจ.เชียงใหม่ พ.ต.อ.สมชาย เขียวจักร์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมลงนามดังกล่าว มีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
(อปท.) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกู้ชีพและกู้ภัย เข้าร่วมจำนวนมาก
นายพิชัย กล่าวว่า อบจ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 17 จังหวัดนำรองทำบันทึกข้อตกลงและเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน กับ สพฉ. กระทรวง
สาธารณสุข ภายใต้นามเรียกขานศูนย์เอราวัณ ซึ่ง อบจ. เป็น 1 ใน 49 จังหวัดรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน รวม 69 แห่ง จาก 267 แห่งแล้ว และพัฒนาเป็นศูนย์รักษา
แพทย์ทางไกล หรือ CUP จำนวน 10อำเภอ ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศโดยมีแผนจัดซื้อรถพยาบาล หรือรถกู้และอุปกรณ์ 10 คัน ๆ ละ 2.5 ล้านบาท
รวม 25 ล้านบาท เพื่อบริการประชาชนที่อยู่ห่างไกล ภายในปีหน้า ทั้งศูนย์รับแจ้งเหตุได้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน เฉลี่ยวันละ 300 รายด้วย
เรืออากาศเอก นพ.อัจริยะ กล่าวว่า อบจ.เชียงใหม่ ถือเป็น อปท.ที่มีศักยภาพเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการแพทย์ฉุกเฉินเนื่องจากมีความพร้อมทุกด้าน และมีบุคลากรทางการแพทย์ หรือ รพ.สต.รองรับซึ่ง สพฉ.พร้อมสนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉินแก่ อบจ. ภายใต้การช่วยเหลือ 3ช่องทาง คือ งบประมาณ อบจ. กองทุนสนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉิน และงบอุด
หนุนเฉพาะกิจจากสำนักงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนการบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ภาพรวมการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินให้บริการประชาชนได้เพียง 45%ของพื้นที่ทั้งประเทศ ยังเหลืออีก 55%ที่ต้องพัฒนาและขยายพื้นที่บริการให้
ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยรัฐบาลและทุกภาคส่วน ต้องระดมทรัพยากรสนับสนุนมากขึ้น โดยเสนอแผนขยายพื้นที่บริการทั่วประเทศแก่ สพฉ. เพื่อนำเสนอ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม ) พิจารณา คาดใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 5 ปี”เรืออากาศเอก รพ.อัจริยะ กล่าว
เรืออากาศเอก นพ.อัจริยะ กล่าวอีกว่า ไม่ใช่เฉพาะเทศกาลปีใหม่ ที่ สพฉ.และอาสามัครกู้ชีพ-กู้ภัย ต้องรับมือผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตจากเทศกาล
ดังกล่าวเพราะต้องแบกรับสถานการณ์เหตุฉุกเฉินทุกวัน แต่ช่วงปีใหม่ อาจมีเหตุฉุกเฉินและอุบัติเหตุมากกว่าเท่านั้นทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานหนักและเหนื่อยมากขึ้น ดังนั้นทุกฝ่ายต้องรับมือป้องกัน
และลดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด อาทิ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เมาไม่ขับ ถ้าง่วงให้หยุดรถเพื่อพักผ่อน มีน้ำใจขับขี่ และปฏิบัติตามกฏจราจร เชิ่อว่าลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้มาก ส่วนผู้บาดเจ็บที่เข้า
รับการระกษา เชื่อว่ามีเตียงรองรับอย่างเพียงพอ สามารถกระจายผู้บาดเจ็บไปรักษาโรงพยาบาลใกล้เคียงได้ ไม่น่าเป็นห่วงอะไร ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน-อุบัติเหตุหรือโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ให้แจ้ง
ที่หมายเลข 1669 ทันที
////////////
Discussion about this post