เมื่อวันที่ 17 ก.ค.66 ที่ห้องนวล จันทร์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอม เกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ จ.ประจวบฯ พร้อมด้วย นางวนิดา พิมอุบล รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ร่วมแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช” พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และจุดประกายความคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดาราศาสตร์ให้กับเด็กและเยาวชน โดยปีนี้กำหนดจัดงานตั้งแต่วันที่ 18-24 ส.ค.66 มีกิจกรรมมากมาย หลากหลาย
ได้แก่ 1. การแสดง แสง สี เสียง เทิดพระเกียรติฯ วันที่ 18-20 ส.ค.66 ที่บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2.การจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาญาณของพระองค์ที่ภายในอาคารรอบๆ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ 3.การจัดนิทรรศการวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยี โดยความร่วมมือของศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ และเครือข่ายในจังหวัดประจวบฯ ได้แก่ ศูนย์วิทยา ศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา สระแก้ว พิษณุโลก กาญจนบุรี นครสวรรค์ สมุทรสาคร สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ พลังงานจังหวัดประจวบฯ และศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตทับสะแก 4.กิจกรรมสร้างระบบคิดปลูกจิตวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมแรลลี่วิชาการที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ 5 สถานี ได้แก่ สถานีนิทรรศการวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มศูนย์วิทย์และเครือข่าย 9 หน่วยงาน สถานีอาคารพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สถานีอาคารนิทรรศการเทิดพระเกียรติ ร.4 สถานีอาคารฟากฟ้า ณ หว้ากอ (การใช้กล้องดูดาว) และสถานีอาคารดาราศาสตร์และอวกาศ เมื่อผ่านการเรียนรู้ทุกฐาน จะได้รับมอบเกียรติบัตร 5.การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ณ หว้ากอ ครั้งที่ 39 “ตามรอยพระยุคลบาท พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เป็นกิจกรรมที่สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จัดขึ้นในช่วงวันจัดงาน มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม 6.การสัมมนาวิชาการ หัวข้อ “จากจุดเริ่มต้นของดาราศาสตร์ไทยสู่โลกใบใหม่ของอนาคต” ที่โรงแรมประจวบแกรนด์ โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ จากสมาคมดารา ศาสตร์ไทย ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) :GISDA และกรรมการจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 7.การประกวดโครงงานวิทยา ศาสตร์ด้านการใช้และการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตและสังคม สำหรับนักศึกษา สังกัด สกร. ระดับประเทศ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษา สังกัด สกร. 200 คน ซึ่งมาจากศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 19 แห่งที่ได้ส่งทีมชนะเลิศ และรองชนะเลิศที่ผ่านการประกวดระดับพื้นที่มาแล้วมาร่วมประกวดระดับประเทศในวันงานจำนวน 38 ทีม 8.การประกวดโครงงานวิทยา ศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ระดับประเทศ แบ่งเป็นการประกวดโครงงาน 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการจัดการขยะ และนวัตกรรมจากขยะ กลุ่มเป้าหมาย คือนักศึกษา สังกัด สกร. 200 คน ซึ่งมาจากศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 19 แห่ง ส่งทีมชนะเลิศระดับพื้นที่มาร่วมประกวดระดับประเทศ จำนวน 38 ทีม 9.การประกวดการแสดงทางวิทยา ศาสตร์ ระดับประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ นักเรียนในระบบ ระดับประถมศึกษา / นักเรียนในระบบ ระดับมัธยมศึก ษาตอนต้น และนักศึกษา สังกัด สกร. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 ระดับ จากศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 19 แห่ง คัดเลือกส่งทีมที่ชนะเลิศเข้ามาแข่งขันประกวดในระดับประ เทศ ระดับละ 19 ทีม รวม 57 ทีม ซึ่งในการจัดประกวดระดับประเทศในครั้งนี้ ได้เชิญคณะกรรมที่มีความรู้ความสามารถและผู้มีประสบกรณ์จากทั่วประเทศ มาร่วมเป็นคณะกรรมตัดสิน เพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด ซึ่งทีมที่ชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัลและโล่รางวัลจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้คาดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงานประมาณ 15,870 คน
หว้ากอในอดีต เป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลคลองวาฬ จ.ประ จวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชิดำเนินชลมาคและสถลมารค เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ ซึ่งปรากฎการณ์นี้พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ครั้นถึงวัน เวลา ก็เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นจริง ซึ่งพระปรีชาสามารถของพระองค์เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2524 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และถวายพระราชสมัญญานาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยการจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เริ่ม มาตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2525 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรุงเทพมหานคร (ท้องฟ้าจำลอง) และต่อมาได้มีการขยายวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย.
Discussion about this post