เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดยะลา ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อพบปะเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และมอบความห่วงใย แก่พี่น้องสมาชิกองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มเสื้อเขียว) ของจังหวัดยะลา เพื่อมารับทราบปัญหา ข้อขัดข้องในการดำเนินงาน รวมถึงแนวทางการปฏิบัติ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามแนวทางศาสตร์พระราชา ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเครือข่าย ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านต่างๆ รวมถึงส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่เยาวชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ มาเรียนรู้ ศึกษา ปฎิบัติงานจริง ณ แปลงเกษตร ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่เยาว ชนในช่วงปิดภาคเรียน และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครอง อค่าตอบแทนที่ได้ เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในการซื้อเครื่องแต่งกายชุดรายอ ในช่วงเทศกาลฮารีรายอ อีกด้วย
ในการนี้ พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว และคณะ ได้เยี่ยมชมแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เยี่ยมชมการทำปศุ สัตว์ ตลอดจนได้มอบอินทผลัม พร้อมเครื่องบริโภค ให้แก่น้องสมาชิกองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดยะลา สำหรับไว้รับประ ทานในห้วงของการถือศีลอด เดือนรอมฎอน ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1444 เนื่องในโอกาสเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ ซึ่งเป็นเดือนแห่งการถือศีลอด และปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด อีกด้วย โดยมี พันเอก พีรพงศ์ วัลลภาทิตย์ ผู้บังคับ การกรมทหารราบที่ 152 / หัวหน้าคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะที่ 1 , พันเอก พีระยุทธ ชุมโคตร เสนาธิการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ , นายชานนท์ เจะหะมะ ประธานองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียง จชต.(กลุ่มเสื้อเขียว) และสมาชิกร่วมให้การต้อนรับ
จากนั้น พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ได้เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจ สมาชิกองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดยะลา จำนวน 2 ราย ได้แก่ 1. นายมะไซดี ละโฮะยา เป็นผู้ป่วยพิการทางสายตา อาศัยอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และ 2. นางเดือนเพ็ญ หนูขาวเป็นผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ ซึ่งเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก อาศัยอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยได้พูดคุยสอบถามอาการ สภาพความเป็นอยู่ พร้อมมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ เข้าสนับสนุนส่งเสริมแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ และผู้พิการ ซึ่งต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง ที่ไม่สามารถเดินทางออกมารับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน จึงได้ลง พื้นที่ ไปมอบความห่วงใย มอบถุงยังชีพเครื่องอุปโภค บริโภค และมอบอินทผลัม เพื่อไว้รับประทานในห้วงการถือศีลอด ของเดือนรอมฎอน ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ในเวลาต่อมา พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ในฐานะ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 เดินทางต่อไปยัง ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อมอบแพะพันธุ์พระราชทาน จากโครงการทหารพันธุ์ดี กรมทหารราบที่ 152 จำนวน 3 คู่ 6 ตัว ซึ่งเป็นแพะสายพันธุ์ผสม ระหว่าง แพะสายพันธุ์แบล็คเบงกอล และ แพะสายพันธุ์พื้นเมือง ให้แก่ นายชานนท์ เจะหะมะ ประธานองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียง จชต.(กลุ่มเสื้อเขียว) เพื่อนำไปต่อยอด และขยายพันธุ์ การเลี้ยงปศุสัตว์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐ กิจพอเพียงจังหวัดยะลา ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อทำเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ แหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่เยาวชนพี่น้องประชาชนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต่อไป
พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว กล่าวว่า องค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติ และเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มเสื้อเขียว) เป็นแบบอย่างที่ดีขององค์ กรภาคประชาชน ที่ได้มุ่งเน้น ยืนหยัด น้อมนำเอายุทธศาสตร์พระ ราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กร ก่อให้เกิดเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนสามารถพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ และงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ เพื่อสังคม เป็นกระบวนการสร้างความรัก ความร่วมมือ และความสามัคคี ที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจ ของการอยู่ร่วมกัน ในการสร้างสังคมให้เกิดความผาสุกได้ และเป็นพลเมืองในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดกลไก การจัดการ ชุมชน ตามธรรมชาติ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศักยภาพผู้นํา และประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ทรัพยา กร ภูมิปัญญา และวิถีชุมชน รวมถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สู่แนวคิดความเป็น “พลเมืองไทย ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม” น้อมนําศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง จนก่อให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป.
Discussion about this post