วันที่ 19 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตลาดหลักเมืองข้างวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ต.ในเมือง อ.มือง จ.นครราชสีมา พบชาวต่างชาติสะพายย่ามเดินตามพระสงฆ์ที่กำลังออกบิณฑบาตในช่วงเช้าสร้างความแปลกตาให้กับผู้ที่พบเห็น จากการสอบถามทราบว่าชาวต่างชาติคนดังกล่าวชื่อ นายไซม่อน มาร์ติน อายุ 41 ปี ชาวแคนาดา แต่เติบโตที่ฝรั่งเศส ได้เดินทางบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดพิธีแต่งงานกับ น.ส.พิมพ์ชนก สุคันธศรี อายุ 33 ปี ชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการจัดพิธีเรียบง่ายแบบชาวพุทธ
โดยเวลา 06.00 น. นายไซม่อน มาร์ติน ได้ขอเป็นลูกศิษย์วัดเดินสะพายย่ามออกบิณฑบาตกับพระภายในตลาดหลักเมือง ก่อนจะมาทำพิธีแต่งงานถวายภัตราหารเช้าพระภายในอุโบสถ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
จากการสอบถาม น.ส.พิมพ์ชนก สุคันธศรี บอกว่า ตนพบรักกับไซม่อน จากที่ได้ทำงานร่วมกัน ซึ่งตนเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ภายใต้องค์การสหประชา ชาติ ประจำประเทศไทย ส่วนไซม่อน ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารของสถาบันความร่วมมือและการพัฒนาแห่งยุโรป ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประจำที่อ.แม่สอด จ.ตาก ประเทศไทย หลังจากคบกันมาได้ 7 ปี จึงตัดสินใจแต่งงานกันโดยตั้งใจจะจัดแบบเรียบง่าย ในพิธีพุทธ และได้เลือกวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ในการประกอบพิธีเพราะว่าเป็นวัดไทยที่เก่าแก่มีความเชื่อมโยงกับประเทศฝั่งเศษ โดยตัวไซม่อนเอง อยากที่จะสัมผัสและเข้าถึงวัฒนธรรมไทยจึงได้ขอทำบุญด้วยการเป็นเด็กวัดเดินตามพระออกบิณฑบาตในตอนเช้า ก่อนจะเข้าพิธีแต่งงาน
ทั้งนี้วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร รายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ใจกลางเมืองจังหวัดนคร ราชสีมา ซึ้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และในยุคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศส จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า “พิธี ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา” ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี นอก จากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้ และในปีจจุบันวัดพระนารายณ์ ยังมีศิลปะวัตถุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรมของสมัยกรุงศรีอยุธย และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด พระวิหารหลวงและ เทวรูปพระนารายณ์สี่กร เป็นเทวรูปยืนสูงสิบเจ็ดนิ้ว จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญ ลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด.
Discussion about this post