เมื่อวันที่ 24 ส.ค.65 นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองหัวหิน เข้าร่วมงาน Smart & Strong Opening Ceremony โครงการบูรณาการการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการสร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ศูนย์สันทนาการและฟื้นฟูผู้สูงอายุบึงยี่โถ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยมี นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเทศ บาลเมืองบึงยี่โถกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9 แห่ง
ผศ.ดร.ณัฏฐพัชร สโรบล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่าวัตถุประสงค์หลักของโครงการเพื่อเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รูปแบบ ทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน และเพื่อพัฒนา ต่อยอดและดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน ขอบเขตการดำเนินงานในปีที่ 1 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการจำนวน 8 แห่ง ประ กอบด้วย 1.เทศบาลตำบลทับมา จ.ระยอง 2.เทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี 3.เทศบาลเมืองนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี 4.เทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบฯ 5.เทศ บาลตำบลท่าสายลวด จ.ตาก 6.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี 7.เทศบาลเมืองกันตัง จ.ตรัง และ 8.เทศบาลเมืองลำพูน จ.ลำพูน เเละในปีที่ 2 ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายผลการดำเนินงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 20 แห่ง
นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ กล่าวว่าเป็นเวลากว่า 15 ปีที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุในชุมชน หลังจากเทศบาลรับถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัย และยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และฟื้นฟูบึงยี่โถ ผมเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพควบคู่ไปกับการรักษาฟื้นฟูและไม่ได้เน้นแต่กลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ปรารถนาให้คนทุกวัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ ผม บุคลากรเทศบาล และ คนในชุมชนจึงทุ่มเทอย่างหนักในการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนทุกรูปแบบ อาทิ มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน 3 แห่ง มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุช่วงกลางวันหรือเดย์แคร์ 1 แห่ง มีมูลนิธิข้างเตียงเคียงกันในการประสานส่งต่อกายอุปกรณ์ และมีศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาบึงยี่โถที่เน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นรูปแบบการจัดบริการแบบบูรณาการในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โครงการสตรองการจัดบริการแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนภายใต้แนวคิด “STRONG MODEL” ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมผู้สูงอายุระดับอาเซียน ในสาขาความคิดริเริ่มจากชุมชน Healthy Aging Prize for Asean Innovation 2021 (HAPI Award) สตรอง (STRONG) คือ “ผู้สูงวัย หัวใจสตรอง” ที่สื่อความหมายถึงการมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ การพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการยกระดับ การจัดบริการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีมาตร ฐาน มีประสิทธิภาพทัดเทียมในระดับสากลให้ผู้สูงอายุของประ เทศไทยได้รับการพัฒนาศักย ภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขีดความสามารถในการทำประโยชน์แก่สังคม การเกิดโครงการนี้จึงริเริ่มจากแนวคิดที่จะขยายผลความสำเร็จจากบทเรียนของ STRONG MODEL ไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทย
ด้านเครือข่ายประเทศญี่ปุ่น นายคาฮิโร โมริตะ ผู้แทนจากองค์การความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) กล่าวว่า ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุรวดเร็วและจำ เป็นต้องมีมาตรการรับมืออย่างเร่งด่วนตั้งแต่ปี 2550 JICA ได้ทำ งานร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุขในประเด็นผู้สูงอายุในประเทศไทย ประเด็นผู้สูงอายุไม่ใช่ความท้า ทายเฉพาะแต่เป็นประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจในภาพรวม จำเป็นต้องมีการจัดบริการที่หลากหลายทั้งเรื่องสุขภาพ สวัสดิการสังคม โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและอื่น ๆ การดำเนินโครงการระดับชุมชนนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผชิญกับคนในชุมชน เกิดการเรียนรู้และการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการและการเรียนรู้นี้เองจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน นายคาฮิโร โมริตะ ยังกล่าวอีกว่า กิจกรรมของโครงการจะไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของทั้งสองประเทศผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน.
Discussion about this post