วันที่ 23 สิงหาคม 2565 นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ พร้อมคณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามปัญหาและความคืบหน้าอุบัติเหตุบนถนนพระราม 2 พร้อมทั้งรับฟังบรรยายสรุป ณ สำนักงานโครงการฯ เอกชัย – บ้านแพ้ว กม.27 (ฝั่งขาเข้า) อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยที่ประชุมทางรองปลัดกระทรวงฯ ได้เน้นย้ำเรื่องของมาตรการความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้างให้มีความรัดกุมในทุกๆ ด้าน และพิจารณามาตรการเสริมความปลอดภัยในด้านต่างๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส่วนกรณีอุบัติเหตุฯ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 จนกลายเป็นข่าวที่สังคมจับตามองได้แก่ วันที่ 17 ก.ค.65 อุบัติ เหตุแผ่นเหล็กก่อสร้างหล่นลงมาบนถนนมีรถได้รับความเสียหาย บนทางหลวงหมายเลข 35 สาย ธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ขาเข้ากรุงเทพฯ กิโลเมตรที่ 17+ 200 ตรงข้ามปั๊มน้ำมัน ปตท.พันท้ายนรสิงห์ ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร, วันที่ 31 ก.ค.65 อุบัติเหตุคานสะพานกลับรถพังถล่ม บนทางหลวงหมายเลข 35 ตอน สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน – นาโคก ที่กม.34 (หน้าโรงพยาบาลวิภาราม) จ.สมุทรสาคร, วันที่ 11 ส.ค.65 อุบัติเหตุน้ำขังบริเวณผ้าใบกันวัสดุตกหล่นร่วงลงมาใส่หลังคารถยนต์ ในพื้นที่โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สาย ธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ตอน ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย ตอน 1 กรุงเทพมหานคร และ วันที่ 16 ส.ค. 65 อุบัติเหตุชิ้นส่วนเหล็กแบบหล่อสะพานลอดช่องว่างของแผงกั้นโดนรถยนต์ บนทางหลวงหมายเลข 35 ช่วง กม. 13+200 (ขาออก กทม.) ช่องทางหลัก ในพื้นที่โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมาย เลข 35 สาย ธนบุรี – ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ตอน ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย ตอน 1 กรุงเทพมหานคร
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังจากที่ลงดูพื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุคานสะพานกลับรถพังถล่ม บนทางหลวงหมายเลข 35 ตอน สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน – นาโคก ที่กม.34 (หน้าโรงพยาบาลวิภาราม) จ.สมุทรสาครว่า จากเหตุ การณ์คานสะพานกลับรถถล่มลงมานี้ ทางกระทรวงคมนาคม และกรมทางหลวงก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วนที่สุด โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน่วยงานที่เป็นกลางอย่างเช่น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วศท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สภาวิศวกรฯ เข้ามาร่วมด้วย ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบนั้นมีการดำเนินการคือ 1.ให้วิศวกรผู้มีความเชี่ยว ชาญเข้ามาตรวจสอบโครงสร้างของสะพานว่ามีรอยร้าวหรือรอยชำรุดเสียหายอย่างไรหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบรอยร้าวที่มีนัยยะสำคัญที่จะทำให้โครงสร้างนี้พังเสียหายได้,2.มีการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ โดยการแสกนพื้นผิวดูตำแหน่งเหล็ก ระยะห่างของเหล็ก ยังคงได้มาตรฐานตามแบบหรือไม่ ซึ่งก็พบว่ายังคงได้มาตร ฐานตามแบบ, 3.มีการใช้เครื่องมือในการทดสอบกำลังเสาคอนกรีตว่ายังสามารถรับกำลังอัดได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งก็พบว่ายังคงได้มาตรฐานอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความมั่นใจอีกระดับหนึ่ง ทางวิศวกรรมสถานจะได้ร่วมกับกรมทางหลวงในการทดสอบการรองรับน้ำหนักรถบรรทุกหนักเพิ่มอีก เพื่อตรวจสอบว่าเสากับคานนั้นสามารถรับน้ำหนักจริงได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีเครื่องมือในการตรวจจับค่าระดับการทรุดตัวหรือการรองรับน้ำหนักบรรทุก ซึ่งภายในเดือนกันยายนนี้ผลการทดสอบน่าจะปรากฏเป็นที่เด่นชัด จากนั้นถ้าทุกอย่างถ้าเป็นไปตามมาตรฐานของวิศวกรรมแล้ว ก็จะนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแนวทางการติดตั้งรวมถึงการทำพื้นสะพานให้แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยใช้เวลาอีกประมาณ 2 – 3 เดือน และเมื่อติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประ ชาชนผู้ใช้สะพานกลับรถแห่งนี้ ทางวิศวกรรมสถานฯ ยังจะได้ติดตั้งเครื่องมือเพื่อทดสอบพฤติ กรรมของตัวสะพานกับคานที่ติดตั้งใหม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อตรวจสอบว่าในช่วงที่มีการเปิดให้ประชาชนได้ใช้สะพานตามปกติแล้วนั้น สะพานเกือกม้ายังคงมีความมั่นคงแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานของวิศวกรรมหรือไม่ โดยทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มเปิดให้ประชาชนจะใช้สะพานเกือกม้าแห่งนี้ได้ในช่วงประมาณเดือนธันวาคมนี้.
Discussion about this post