มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก กองการต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช ปวงสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการศึกษานานา ชาติ กล่าวต้อนรับ ผู้แทนกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป. ลาว ผู้แทนจาก University of Foreign Languages, Hue University, Vietnam กรรมการและรองผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อาจารย์ และนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ และผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ เป็นประธานเปิดการแข่งขันโดยแนวคิดทางธุรกิจระดับนานาชาติ International Young Startup Contest 2022 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubator) ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (สปป. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) โดยการสร้างเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubator Network) ในประเทศอาเซียนภาคพื้นทวีป เน้นกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศในคาบสมุทร เพื่อเสริมสร้างประสบ การณ์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้นในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (สปป. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ผ่านกลไกเตรียมความพร้อมเข้าสู่การบ่มเพาะธุรกิจในระยะสั้น
รองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ กล่าวว่า การแข่งขันแนวคิดทางธุรกิจระดับนานาชาติ International Young Startup Contest 2022 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เราได้รับความสนับสนุนและร่วมมือเป็นอย่างดี จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สปป.ลาว มหาลัยภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเว้ เวียดนาม ทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ดังกล่าว ได้เป็นเจ้าภาพในประเทศทั้ง 3 ประเทศ และในประเทศไทยมหาวิทยาลัยอุบลราช ธานีของเราได้เป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 16-17 ก.ค.2565 ที่ผ่านมา ในการคัดเลือก ทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน
สำหรับการแข่งขัน International Young Startup Contest 2022 ครั้งนี้ มีทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 12 ทีม ประกอบด้วย ทีมจากประเทศกัมพูชา จำนวน 2 ทีม ทีมจาก สปป.ลาว จำนวน 2 ทีม ทีมจากประเทศเวียดนาม จำนวน 2 ทีม และทีมที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัว แทนจากประเทศไทย จำนวน 6 ทีม ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีม Gen A Tech จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับรางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 50,000.- บาท ทีม 3S (Three S) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 30,000.- บาท ทีม MiDi จาก National University of Laos ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 20,000.- บาท ทีม Mamypoko จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000.- บาท และทีม Pepp-Yes จาก National University of Battambang, Cambodia ได้รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000.- บาท และในโอกาสข้างหน้าเราคาดหวังว่า สิ่งเหล่านี้จะสร้างให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ในประเทศเพื่อนบ้านเราและในประเทศไทย เกิดการเชื่อมโยงงาน เปิดเพื่อนร่วมธุรกิจกันในอนาคต ซึ่งจะทำให้ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศกลุ่มอาเซียนในอนาคต.
Discussion about this post