ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิท ยาลัยอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ ซึ่งรองศาสตร าจารย์ ดร. ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา รวมทั้งนำเสนอกิจกรรมการวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหน่วยงานภายนอก และเพื่อให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัยในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนกระตุ้น และสร้างบรรยากาศการวิจัยในมหาวิทยาลัย เกิดการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และกลุ่มนักวิจัยทั้งในและระหว่างสถาบัน โดยมีเป้าหมายที่จะนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานนวัตกรรมที่ผู้คนทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงได้ สำหรับการประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr. Fabrizio Zarcone : Country Manager for World Bank Thailand บรรยายพิเศษ หัวข้อ “Research and innovation as a key driver for a new development model for Thailand’s growth and sustainability”
รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายหัวข้อ “นโยบายและแผนการสนับ
สนุนการวิจัยของชาติ และข้อแนะนำในการเตรียมข้อเสนอโครงการวิจัยให้เข้าเป้า” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) บรรยายหัวข้อ “นโยบาย และทิศทางการสนับสนุนการพัฒนานักวิจัย สถาบันวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย ของ บพค.” และในปีนี้มีผู้ส่งผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาเข้าร่วมนำเสนอ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖๙ ผลงาน โดยแบ่งเป็นการนำเสนอแบบบรรยาย จำนวน ๓๓ ผลงาน และการ นำเสนอแบบโปสเตอร์ จำนวน 36 ผลงาน
นอกจากนี้ในงานยังมีการมอบรางวัลให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยปีนี้มีนักวิจัยดีเด่นและผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ ศาสตราจารย์ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมากที่สุดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์บัญชา ยิ่งงาม คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมากที่สุดด้านวิทยา ศาสตร์สุขภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมากที่สุดด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สราวุธ ประเสริฐศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวุฒิ วัดจัง ดร.ศันศนีย์ ศรีจันทร์ และ อาจารย์ปราณี นุ้ยหนู คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม ผลงาน “กระถางชีวมวลจากฟางข้าวเพื่อควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืช” และ รองศาสตราจารย์กนกวรรณ มะโนรมย์ พร้อมทีมวิจัย คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ด เสร็จและแม่นยำ จังหวัดอำนาจเจริญ
และในปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัย จำนวน 11 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผา ใจเที่ยง คณะเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ระพีพันธ์ ปิตาคะโส คณะวิศวกรรม ศาสตร์ รองศาสตราจารย์ปุริม จารุจำรัส คณะวิทยาศาสตร์รองศาสตรา จารย์บัญชา ยิ่งงาม คณะเภสัช ศาสตร์ รองศาสตราจารย์สมหมาย ชินนาค คณะศิลปะศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี เงยวิจิตร คณะบริหารศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กัญญา จึงวิมุติพันธ์ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติยวดี ศรีภา วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์ คณะพยา บาลศาสตร์ รองศาสตราจารย์สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ และ ดร.ปิยณัฐ สร้อยคำ คณะรัฐ ศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลฯ กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 32 ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวข้อการประชุมดังกล่าว สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มุ่งจะเป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำในอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและนวัตกรรม (Leading University in ASEAN Focusing on Transforming Life Quality and Innovations)” โดยมหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาของพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในมิติต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่สำคัญนอกเหนือจากการเรียนการสอน การจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้นั้น จำเป็นจะต้องมีการพัฒนานักวิจัย และสร้างเครือข่ายการวิจัยกับสถาบันต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตผลงานวิจัย องค์ความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ อันจะได้ถ่ายทอดและเผยแพร่สู่สาธารณชน นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม การจัดการประชุมวิชาการ จึงเป็นเสมือนเวทีกลางสำหรับนักวิจัย นักวิชาการในภาครัฐ เอกชนและชุมชน สังคม ที่จะได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ร่วมกัน ตลอดจนมุ่งหวังที่จะเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนางานวิจัย และงานริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณ ชนได้อย่างแท้จริง.
Discussion about this post