วันที่ 29 มีนาคม 2565 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยนายเศรษฐา พันธุ์วิริยะพงษ์ สมาชิกสภา อบจ.นครสวรรค์ เขต 1 อ.หนอง บัว , ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาบตะคร้อผ้าทอ หมู่ 2 บ้านเนินน้ำเย็น ต.หนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาบตะคร้อผ้าทอ มีนางอัมพร ขำชื่น เป็นประธานกลุ่ม แต่เดิมมีการย้ายถิ่นฐานมาจาก จ.สุโขทัย และได้มาเริ่มก่อตั้งกลุ่มทอผ้า ที่บ้านเนินน้ำเย็น ต.หนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เริ่มต้นจากสมาชิกประมาณ 30 คน มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแล และได้รับการสนับสนุนกี่ทอผ้า ทั้งจากส่วนราชการ และเอกชน ปัจจุบันเหลือสมาชิก 8 คน และมีกี่ทอผ้า 4 ตัว ซึ่งกระจายอยู่ตามบ้านสมาชิก ด้านการผลิตสินค้าไม่รับทำตามออเดอร์ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ทำนา และกำลังการผลิตไม่เพียงพอ จึงใช้เวลาว่างจากการทำนา ทำไร่ มาทำการทอผ้า ทอได้ประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ผืน มีคนทอเพียง 4 คน ไม่มีคนมัดลาย จึงรับซื้อลายมัดจาก อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยผลิต ภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ได้แก่ ผ้าสอดดิ้น ซึ่งเคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดมาแล้ว
ที่ผ่านมากลุ่มวิสาหกิจชุมชนมาบตะคร้อผ้าทอ เคยมีการนำผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่ายที่เมืองทองธานี แต่ปัจจุบันไม่ได้ไปเพราะไม่คุ้มค่าการเดินทางและมีคนทอผ้าน้อยลง รวมถึงการทอผ้าลายขอ ที่ปัจจุบันหยุดการทอลง เนื่องจากสภาพปัญหาเกี่ยวกับลายมัดที่ไม่ได้ไปรับซื้อมา ต้นทุนการผลิต และประกอบกับสถานการณ์โควิด -19 ส่งผลให้กำลังการผลิต(คนทอ)ลดลงด้วย
พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า ขณะนี้ อบจ.นครสวรรค์ ได้ทำการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลสภาพปัญหาของกลุ่มทอผ้าในจังหวัดนครสวรรค์ มาแล้วจำนวน 18 กลุ่ม ปัญหาที่พบเหมือนกัน คือ 1.เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อย เนื่องจากรายได้น้อย ยังไม่เป็นที่ดึงดูดใจ 2.วัตถุดิบมีต้นทุนสูง และทางกลุ่มทอผ้าไม่มีเงินทุนหมุนเวียน 3.ต้องมีการพัฒนาฝีมือ เรื่องของลายผ้า การมัด และลายเฉพาะ 4.เรื่องตลาด การกำหนดราคาของผ้าทอ ยังมีราคาที่ถูก ทำให้กลุ่มมีรายได้น้อย
ขณะที่นางอัมพร ขำชื่น เป็นประธานกลุ่มฯ และสมาชิกกลุ่ม เสนอความต้องการของกลุ่มว่า 1.อยากให้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ มีเงินกองทุนส่วนกลาง เพื่อนำไปใช้ในการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ ของกลุ่ม 2.อยากได้รับการพัฒนาการทอผ้าลวดลายใหม่ๆ 3.อยากได้เงินทุนมาสนับสนุน
“ซึ่งหลังจากมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลครบแล้ว จะมีการประชุมสรุปสภาพปัญหา และความต้องการ ของกลุ่มทอผ้าต่างๆ รวมทั้งจะจัดฝึกอบรมพัฒนาฝีมือให้ทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ หาเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ให้ผู้เชี่ยว ชาญและมีความรู้ในด้านผ้า มาช่วยในการกำหนดราคาให้ใหม่ หากทอได้มาตรฐาน มีคุณภาพ สามารถกำหนดราคาเองได้ เพิ่มกำลังการผลิตได้ ก็จะทำให้มีรายได้ดีขึ้น อาจทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่เดินทางไปประ กอบอาชีพที่อื่น กลับมายังบ้านเกิด ช่วยสืบสาน และพัฒนาฝีมือกลุ่มทอผ้าได้ต่อไป” พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ กล่าวในที่สุด.
Discussion about this post