
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ที่วิทยา ลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) พร้อมผู้บริหาร ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) ปี 2563 โดยมี ผศ. ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี พร้อมคณา จารย์ เจ้าหน้าที่โครงการ ร่วมให้การต้อนรับ
นายสมบูรณ์ กล่าว การมาเยี่ยม ชมโครงการดังกล่าว เป็นหนึ่งในกิจกรรมลงพื้นที่เพื่อประชา สัมพันธ์ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ เพื่อรับทราบผลสำเร็จ และพัฒนาโครงการสู่การต่อยอด เพิ่มศักย ภาพของผู้ประกอบการดิจิทัล และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการในเรื่องการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสิน ค้า และบริการของภาคเหนือ
“ขอชื่นชมในความสำเร็จของ โครงการดังกล่าว ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลภาคเหนือของไทย ที่ไม่เพียงแต่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ แต่ยังมีบทบาทเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับภาคเหนือ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลภาคเหนือก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน รวมถึงเป็นพลังสำคัญส่วนหนึ่งในการส่งเสริมศักยภาพให้กับประเทศไทยในระดับสากลอีกด้วย” นายสมบูรณ์ กล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าว ได้เชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ Start Up 17 จังหวัดภาคเหนือ กว่า 5,000 คน เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักย ภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ เพื่ออบรมสัมมนา 3 หลักสูตร ประกอบด้วย Digital Economy หลักสูตรDigital Commerce หลักสูตร Digital Transformation และหลักสูตร Digital Consumption
จากนั้นคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการบ่มเพาะหลักสูตร จำนวน 100 สถานประกอบการ เพื่อจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ กลุ่มนักศึกษา และ Digital Service Provider เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการตลาดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิทัลคอนเทนต์ผ่านกระบวนการอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการใช้สื่อออนไลน์ 100 สถานประกอบการ ซึ่งสามารถผลักดันต่อยอดธุรกิจด้านดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการภาคเหนือได้เป็นจำนวนมากตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนดีอี ที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมดิจิทัล พร้อมผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง
นายสมบูรณ์ กล่าวถึงการบริหารจัดการและป้องกันปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ชุมชนภาคเหนือตอนบน ว่าได้ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการการบริหารจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในชุมชนภาคเหนือตอนบนด้วยเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเตือนภัย ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กอัจฉริยะ เพื่อจัดการปัญหาหมอกควัน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยเตือนภัยและป้องกันประชาชนในชุมชนจากภัยที่มาจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวและป้องกันตนเองจากโรคภัยที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือPM2.5 ส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจ และกระตุ้นเตือนประชาชนได้ตระหนักและป้องกันภัยเพื่อลดอัตราเจ็บป่วย และสนับ สนุนดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าของหน่วยงานในพื้นที่ สนับสนุนโรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อรับมือกับผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน ะร้อมส่งเสริมการเป็นอัจฉริยะ ด้านสุขภาพประชาชนในชุมชน เป็นมิติใหม่ที่ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเตือนภัยได้ง่ายและทันท่วงทีด้วยตนเองผ่านสมาร์ทโฟน หรือผ่านเครือข่ายในหมู่บ้าน หรือชุมชนดังกล่าว
เบื้องต้นทางโครงการได้เลือกหมู่บ้านต้นแบบในพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ทำการติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยต้นแบบไว้ ทั้งหมด 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านโฮ่ง, ตำบลป่าพลู, ตำบลเหล่ายาว, ตำบลศรีเตี้ย และตำบลปลาสะวาย มีหมู่บ้านจำนวน 62 แห่ง รวม 80 จุด และติดตั้งในสถานที่ราชการอีก 18 แห่ง จุดเด่นของอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5 และ PM10) แบบออน ไลน์ชนิดไร้สาย วัดค่าดัชนีคุณ ภาพอากาศ (AQI) และความชื้น สัมพัทธ์อากาศ, ค่าแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ บอกตำแหน่งที่ตั้งชุดวัดฝุ่น เก็บข้อมูลตรวจวัดอากาศตลอดเวลาที่เปิดเครื่องผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ แจ้งเตือนผ่านกลุ่มLine Notify เมื่อได้รับการเตือนภัยด้วยเครื่องเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันกองทุนอีดี สนับสนุนโครงการรวมกว่า 600 โครงการแล้ว มูลค่ารวมกว่า 30,000 ล้านบาท
///////////