ตามที่สถานการณ์ของโรคเบาหวานความดันที่บานปลายออกไปหลายๆ โรคในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จนส่งผลกระทบถึงสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ที่ต้องนอนติดเตียงเป็นภาระของสังคม พบว่าสถิติการเกิดโรคเบาหวานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นปีละกว่า 300,000 คน จนทำให้รัฐบาลต้องออกมามีนโยบายในการแก้โรคเบาหวานความตันอย่างจริงจัง
เพราะโรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้งบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สป.สช.)ที่ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดง รพ.สต.ป่าแดง ร่วมกับมูลนิธิสุขภาพไทยและเครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัดแพร่ จับมือกันทำงานแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือชื่อย่อว่า NCDs โดยนายวิทยา กันกา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ชาวบ้านป่าแดง อย่างเป็นทางการ เข้าไปทำหน้าที่ รณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 ในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.ป่าแดง และ รพ.สต.ป่าแดง คณะกรรมการชุดนี้ มีการประชุมหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาโรค NCDs ในชุมชน
โดยมีแนวคิดที่ว่า ในอดีตก่อน 50 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านไม่มีใครเป็นโรคเบาหวาน ไม่มีใครเป็นมะเร็ง แต่ปัจจุบันพบว่า มีผู้เป็นโรคเบาหวานความดันและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยมีทุกหลังคาเรือน ที่ประชุมสรุปว่า ผู้ป่วยต้องค่าน้ำตาลในเลือด 140 ขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 140 ลงมา ค่าน้ำตาลในเลือดมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
นางสาวจินตนา ฉาใจ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เป็นประธาน อสม.ตำบลป่าแดง และยังเป็นจิตอาสาเบาหวานของ รพ.แพร่ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้ค้นหาวิธีการและได้รับความรู้จากผู้ป่วยที่ปฏิบัติตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันที่เหมาะสมแล้วทำให้ปัญหาโรค NCDs หมดไปร่างกายกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ โดยไม่ต้องใช้ยา กรรมการฯ ได้เชิญ นายนิรันดร อ่วมทิพย์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ ผู้มีประสบการณ์มาศึกษาร่วมกันและให้ความสำคัญจึงอาสาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้การแก้ปัญหาโรค NCDs ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และอีกประเด็นที่พัฒนาจากความรู้ของวิทยากร กอรปกับทาง อสม.ป่าแดงทำงานด้านสมุน
ไพรอาหารพื้นบ้านกับทางมูลนิธิสุขภาพไทย และงานวิจัยย่อยที่ 1 เรื่อง “องค์ความรู้และคุณค่าอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน ภายใต้งานวิจัย อาหารพื้นบ้าน กระบวนการจัดการอาหารพื้นบ้านฯ ของ ดร.ธาดา เจริญกุศล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยลัย วิทยาเขตแพร่ จึงได้บทสรุปว่า ถ้าผู้ป่วย NCDs กลับไปรับประทานอาหารพื้นบ้าน ผัก เนื้อสัตว์จากการผลิตแบบเดิมๆ คือปลอดจากสารเคมี และการปรับตัวออกกำลังกายพร้อมทั้งมีจิตใจที่ดี ได้ทำการทดลอง นำผู้ป่วยเบาหวานมาร่วมเข้าคลอส 5 เดือน จำนวน 15 คน มีการติดตามผ่านกลุ่มไลน์ โชว์การทำอาหาร การเสริมแรง ให้กำลังใจและกระตุ้น ในเวลา 5 เดือน พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 15 คนดีขึ้นทุกคน
ด้วยเหตุนี้ทำให้กรรมการชุดนี้ พัฒนาหลักสูตร 5 เดือน ในการจัดการโรค NCDs ในชุม
ชนป่าแดง โดย รพ.สต.
ป่าแดง และ อสม.ในพื้นที่พร้อมทั้งแกนนำ ร่วมกันคัดกรองผู้ป่วย และเลือกผู้ที่สมัครใจในระดับค่าน้ำตาล 100 – 140 ที่เรียกว่า กลุ่มเสี่ยงป่วยNCDs มาปรับพฤติกรรมร่วมกันจำนวน 60 คน มีแกนนำในหมู่บ้านจำนวน 25 คนไปช่วยเป็นพี่เลี้ยง นำวิทยากรคือ นายนิรันดร อ่วมทิพย์ ผู้มีประสบการณ์มาเล่าเรื่องความโหดร้ายของ NCDs ที่เป็นภัยเงียบ และ แนวทางปฏิบัติตัวออกจาก NCDs แล้วทำการติดตามผ่านกลุ่มไลน์และแกนนำในชุมชน ติดตามเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ในเดือนที่ 3 ก็จะมีการตรวจสุขภาพตรวจค่าน้ำตาลในเลือด และ ปรับปรุงในเดือนที่ 4 ในเดือนที่ 5 ก็จะมาตรวจและมีเวทีร่วมกันเพื่อช่วยคนที่ยังปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งในจำนวน 60 คนประสบความสำเร็จก็จะขยายวงออกไป โดยจะมีการหารือ กับ อบต.
ป่าแดง ถ้าสามารถทำข้อบัญญัติงบประมาณได้ ก็จะขอให้ อบต.ป่าแดงทำงบประมาณจัดอบรมประชาชนที่ป่วย NCDs รายต่อๆ ไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุมชนในเขต อบต.ป่าแดง ดังกล่าวแกนนำด้านสุขภาพได้ให้ความสำคัญกับการจัดการโรค NCDs มาก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายอย่างเป็นทางการเช่นในปัจจุบัน สามารถวางแผนจัดการด้วยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพนำมาใช้ คือตำรับยาการแพทย์พื้นบ้านเช่น น้ำดื่มสมุนไพรที่ประกอบด้วย ไม้ฝางเสน ต้นอ้อยดำ และ ใบเตย ต้มดื่มเป็นน้ำชา และใช้ตำรับอาหารดั้งเดิมของชาวป่าแดง เช่น ไข่ป่าม แกงแค แกงผักอีเยาะอีแยะ ผักลวก ผักต้ม และผักสด ที่มาจากต้นไม้ยืนต้นล้มลุกและพืชน้ำในท้องถิ่น จิ้มกับน้ำพริก มีเนื้อสัตว์ หมู โค ไก่ ปลา จากการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การเดินออกกำลังกาย การทำงานที่สร้างการเผาผลาญในร่าง
กาย รวมทั้งการรับแสงแดด โดยไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องออกกำลังกายเลยนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน ในปี พ.ศ. 2567 ได้ผลมาแล้ว ในปีนี้ถือเป็นการขยายวงการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานไปทุกหมู่บ้านใน เขต อบต.
ป่าแดง นับว่าเป็นความพยายามและความร่วมมือของทุกฝ่ายมาจัดการสุขภาพร่วมกันในรูปกรรมการฯ และนอก
จากนั้นยังมีการพัฒนาส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ และสร้างตลาดเฉพาะผู้สนใจแก้ปัญหา NCDs ที่ตลาดนุ-สุภาพร ตำบลป่าแดง อีกด้วย
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
061 595 5297