วันนี้ 2 ม.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอรรคนิตย์ กลางประพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติลำคลองงู จ.กาญจนบรี กล่าวว่า ด้วยในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม ของประเทศไทย มักประสบปัญหาไฟป่า ส่งผลให้เกิดปัญหาฝุ่นควันที่มีค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรรฐาน ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ อีกทั้งยังส่งผลทำให้เกิดปัญหามลภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาวะอากาศโลกร้อน
ถือเป็นปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วน ทำให้รัฐต้องสูญเสียงประมาณในการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และยานพาหนะเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตเกิดจากการเผาป่าล่าสัตว์ การเก็บหาของป้า และการกำจัดวัชพืชในที่ดินทำกินของเกษตรกรที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า เพื่อเตรียมการเพาะปลูกโดยไม่มีการควบคุมส่งผลให้ไฟลุกลามเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติกลายเป็นไฟป่า
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาหมอกควัน และไฟป่า อุทยานแห่งชาติลำคลองงู จังหวัดกาญจนบุรี จึงประกาศอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20 ดังนี้ 1.บุคคลใดซึ่งเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้สั่งให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
จึงห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ตั้งแต่วันที่ 1 มาราคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 ในท้องที่เขต ตำบลชะแล ตำบลท่าขนน ตำบลสสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ยกเว้นพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตบริการ และเขตนันทนาการกลางแจ้ง หากกรณีมีเหตุจำเป็นให้ประสานอุทยานแห่งชาติลำคลองงู พร้อมแจ้งรายชื่อและสาเหตุความจำเป็นในการเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
และ 2.การเผาวัชพืชในพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู ต้องมีการควบคุมไม่ให้ไฟลุกลามเข้าป่า หากมีการลุกลามเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 มาตรา 19(1) ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ มิให้บคุคลใดกระทำการยึดถือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิม ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000-2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดดังกล่าว ถ้าได้กระทำในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 หรือพื้นที่ล่มน้ำชั้น 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งกึ่งหนึ่ง
//////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์
(ภาพจากเพจอุทยานแห่งชาติลำคลองงู)