(กรณีดราม่า ซีรี่ แม่หยัว) หมอผึ้ง เจ้าของช่อง หมอหมาหมอแมว เผยการใช้ยาสลบในหมา แมว ต้องมีการตรวจสุขภาพสัตว์ให้มีความพร้อม และต้องมีบุคคลากรทางการแพทย์ประกบทั้งช่วงวางและหลังวางยาสลบ เพราะอาจจะกรณีแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ โดยกลุ่มยาซึมและยาสลบบางประเภทจัดอยู่ในประเภทเดียวกันมีการเพิ่มปริมาณเพื่อให้ซึมก่อนวางยาสลบได้ ส่วนกรณีการใช้สัตว์แสดงในสื่อจนเกิดความเสี่ยงหรืออันตรายทางการแพทย์จะมีการเรียนรู้ขั้นตอนสวัสดิภาพของสัตว์ ส่วนตัวมองหากการทำสื่อหนังหรือประชาสัมพันธ์ ถ้าใช้เทคนิคถ่ายทำที่ดีคนดูยังรับได้ ที่สำคัญให้มองเขาเหมือนเราไม่ควรถูกกระทำให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน
วันที่ 9 พฤศจิกายน 67 สัตวแพทย์หญิงภสดล อนุรักษ์โอฬาร (หมอผึ้ง) เจ้าของช่องยูทูป “หมอหมาหมอแมว” ปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์ อาหารสุขนัข CHIMZE ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางยาสลบให้ สุนัข แมว อย่างปลอดภัยว่า ต้องมีการเตรียมตัวในการวางยา สุนัขและแมว ซึ่งทั้งหมาและแมวมีความใกล้เคียงกันมากโดยส่วนสำคัญอยู่ที่สุขภาพของสัตว์ ในบางตัวต้องมีการตรวจประเมินหัวใจเอกซเรย์ในช่องอก อย่างตัวที่มีความซีเรียสมากๆจะต้องมีการตรวจหัวใจและตรวจอย่างละเอียดด้วยการเอคโค่หัวใจ เพื่อดูการทำงานของหัวใจเนื่องจากหัวใจกับปอดมีผลต่อการวางยามากๆ โดยก่อนวางยาสลบจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างน้อย 8 ถึง 12 ชั่วโมง ส่วนตัวที่มีน้ำหนักน้อยก็อาจจะมีการเตรียมตัวน้อยกว่านั้น อาจจะเป็น 4 ถึง 6 ชั่วโมงหรือ 6 ถึง 8 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับอายุของสัตว์ด้วยแต่ในทุกเคสต้องมีการเตรียมตัวป้องกันผลกระทบหลังจากการวางยาที่จะเกิดขึ้นได้
หมอผึ้ง กล่าวว่า สำหรับข้อห้าม ในการวางยาสุนัขและแมวจะเรียกตรงๆก็ไม่ถูกต้องนะอาจจะต้องใช้คำว่าข้อระวังมากกว่า อย่างเช่นสุนัข แมวที่มีโรคแทรกซ้อน อย่างเช่นโรคหัวใจหรือเรื่องของปอด เรื่องของโรคไต โรคตับที่มีผลต่อการขับยาในเคสเหล่านี้ และในการวางยาสลบหากเป็นปกติไม่ใช่ที่เป็นการผ่าตัดจะต้องมีการเตรียมสภาพของสัตว์ไว้ก่อนเช่นการให้น้ำเกลือรอไว้หนึ่งคืนเพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัดต่อไป รวมถึงการผ่าตัดบางอย่างก็จะต้องมีการเตรียมเลือดหรือเตรียมส่วนประกอบอย่างอื่นด้วย ส่วนบางเคสที่มีผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะมีอาการชักหลังการผ่าตัดหรือวางยาสลบไปแล้วอาจจะต้องมีการแอดมิดนนมากขึ้นเป็นประมาณ 12 ถึง 24 ชั่วโมงเพื่อดูอาการอย่างแน่ชัดว่ามีผลแทรกซ้อนหรือไม่
หมอผึ้ง กล่าวต่อไปว่า ส่วนลักษณะการคย้อนหรืออาเจียนที่เกิดขึ้นที่เกิดจากยาซึมหรือยาสลบก็จะมีผลข้างเคียงอยู่แล้วและจะพบได้บ่อยมากในหลายหลายกลุ่มของตัวยา และการอาเจียนนี่คือตัวสำคัญในการเตรียมงดน้ำงดอาหารหากไม่งดน้ำหรืออาหารจะมีอาการเกิดขึ้น 80 ถึง 90% หากไม่มีการเตรียมตัวก็อาจจะมีการไหลย้อนไปลงที่ปอดได้และเป็นสิ่งที่เรากังวลที่สุดในการวางยาสลบ เพราะหากเกิดอาการดังขึ้นทางการแพทย์จะเรียกว่าเป็นภาวะปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบซึ่งเป็นภาวะที่รักษาได้ยาก ในเคสจำเป็นที่ต้องใช้ยายาสลบกับสุนัขและแมวหลักๆคือการทำการหัตถการนหรือการเย็บแผลหรือการตรวจวินิจฉัยเช่นการส่องกล้องต่างๆเราจะทำในขณะที่สัตว์ตื่นไม่ได้เลย และที่จะต้องเจอบ่อยๆคือการผ่าตัดทำหมันต่างๆหรือ ให้เลือด จำเป็นจะต้องใช้ยาซึมยาสลบ และยากลุ่มที่นิยมใช้ก็คือยาซึมในแมว เราจะพบว่าผลจากวางยาคือน้องแมวจะมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง อุณหภูมิลดลง และมีอาการอาเจียนได้ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยๆ
หมอผึ้ง กล่าวเสริมว่า ยาสลบกับยาซึมในบางตัวบางกลุ่มมีการแยกกันอย่างชัดเจนแต่ยังบางตัวก็สามารถนำยาซึมมาเพิ่มโดสให้เป็นยาสลบได้ บางเคสก็จะมีการให้ยาซึมไปก่อนที่จะแทงน้ำเกลือได้และโกนขนหรือก่อนที่จะนำไปขึ้นบนโต๊ะผ่าตัดก่อนจะสอดท่อและแล้วก็ให้ยาสลบ แต่บางแห่งก็จะใช้ยาสลบผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งหลังการวางยาสลบจะต้องมีการตรวจการเต้นของหัวใจอุณหภูมิ ความดัน ซึ่งหากยามีมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาได้ มีโอกาสทำให้หมาและแมวเสียชีวิตได้
” การนำสัตว์เข้ามาฉากในโฆษณาหรือภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มสัตว์ที่ถูกฝึกมาแล้ว แต่ถ้าพูดแบบคนไม่มีความรู้ทางด้านโปรดักชั่น การจะใช้ภาพบางฉากเช่นสัตว์นอนตายก็จะน่าใช้เอฟเฟกต์เข้ามาใช้น่าจะเหมาะกว่า ซึ่งถ้าเกิดทำเทคนิคได้ดีคนดูก็จะรับได้ มันยังดีกว่าจะทำให้มีข้อสงสัยว่าจะทำให้สัตว์เกิดอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บซึ่งคนดูเลือกที่จะดูแบบนั้นมากกว่าและสัตวแพทย์ก็จะมีการเรียนอยู่ในส่วนของคำว่าสวัสดิภาพของสัตว์ อย่างละเอียดแต่คนทั่วไปก็อยากจะให้มองว่าสัตว์เลี้ยงเช่นหมาแมวก็จะเป็นเหมือนคนๆหนึ่งอะไรก็ตามที่สิ่งนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของสัตว์หรือแม้จะทำให้ทำให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บระหว่างถ่ายคนดูก็จะรับไม่ได้ เรามองว่าหากใช้ตัวเองเป็นมาตรฐานว่าถ้ามองว่าเราเป็นคนถ้าเราถูกกระทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอันตราย เราก็จะรู้สึกไม่โอเคกับสิ่งนั้นเช่นกัน” หมอผึ้ง กล่าวปิดท้าย
Discussion about this post