ผู้ว่าฯพัทลุงรับใบประกาศขึ้นทะเบียนการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 14 ก.ย. 66) ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเน้อย ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุนจังหวัดพัทลุง นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ร่วมพิธีรับมอบใบประกาศรับรอง “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศ ไทย โดยนายเศรษฐเกียรติ กระ จ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบใบประกาศขึ้นทะเบียนการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศ ไทย ให้กับนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
สำหรับระบบมรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System :GAHS) คือระบบการใช้ที่ดินที่โดดเด่นและภูมิทัศน์ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างการปรับตัวของชุมชนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความจำเป็น และแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย FAO ได้ริเริ่ม “ระบบมรดกทางการเกษตรโลก” ในการประชุมสุด ยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development – WSSD) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยมีกรอบแนวคิดในอนุรักษ์องค์ความรู้และวิถีการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลาโดยประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และระบบมรดกทางการเกษตรโลกเป็นการรับรองวิถีหรือระบบการทำการเกษตรที่มีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารและความอยู่ที่ดี
ซึ่งเป้าหมายหลักคือการรักษาระบบนิเวศเชิงเกษตรให้มีความยั่งยืน ทั้งนี้ GIAHS เน้นให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แบบพลวัต (dynamic conservation) ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยอนุญาตให้มีการพัฒนาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เพื่อให้รักษาความสมดุลของระบบนิเวศ โดยระบบมรดกทางการเกษตร มีองค์ประกอบ 5 ข้อ คือ ความมั่นคงด้านอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ ดี ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม วัฒนธรรมระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล
และกว่าจะได้ใบประกาศขึ้นทะเบียนการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศ ไทย นั้นใช้เวลายาวนานกว่า 6 ปี ในการดำเนินงานขึ้นทะเบียน “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ภายใต้คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ ได้เห็นชอบให้ประเทศ ไทยยื่นข้อเสนอต่อองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติ หรือ FAO เพื่อขอรับรองให้ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 และที่ประชุมมีมติรับรองให้ข้อเสนอ “ระบบการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย”เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย กว่า 3500 ตัว ในพื้นที่ตำบลทะลน้อย ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง ของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา.
Discussion about this post