วันที่ 25 มิถุนายน 2566 ทีมแม่ ฮ่องสอนท่องเที่ยวพลัส นำโดยนางเบ็ญจมาส บุญเทพ วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยว่าที่ ร.ต. ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานแม่ ฮ่องสอน, นางสาวจิราวดี อ่อนวงศ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่อง สอน, นายวิรัตน์ วงศ์มา แรงงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย นายวุฒิชัย บุญเอื้อ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สำนัก งานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน, นายพิสิทธิ์ สุภา นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มกิจการพิเศษ, นายเจตพงศ์ วิไลกุล นักวิชาการวัฒน ธรรมชำนาญการ, ว่าที่ ร.ท.ก้านเพชร ศรีหาบุตร นักวิชาการวัฒน ธรรมปฏิบัติการ, นางสาวนิชากรณ์ ธาราทิพย์สกุล ลูกจ้างบันทึกและนำเข้าข้อมูล ททท. แม่ฮ่องสอน, นางสาวศิริพร มูลคำ ลูกจ้างโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน ลงพื้นที่สำรวจทดสอบสินค้าในพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย และอำเภอขุน ยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประ เมินตามเกณฑ์สำหรับประกอบการพิจารณาคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “ท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี” ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการเสนอเข้าชิงสู่การเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบระดับประเทศ ของกระทรวงวัฒนธรรม
นางเบ็ญจมาส บุญทพ วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การดำเนินงานดังกล่าว เป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ รวมทั้งร่วมประเมินชุมชนตามเกณฑ์การคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้น แบบ “ท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี” รวมทั้งให้กำลังใจและให้คำแนะนำในการพัฒนาต่อยอด ตลอดจนปรับฐานข้อมูลใหม่ ๆ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยในปีนี้ได้พิจารณาคัดเลือกเพียง 1 ชุมชน จาก 3 ชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำหรับเป็นตัวแทนของจังหวัดในการเสนอเข้าสู่การคัดเลือกเป็นสุดยอดชุมชนต้น แบบ “ท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในระดับประเทศ ของกระทรวงวัฒน ธรรม ได้แก่ 1) ชุมชนบ้านน้ำฮู หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย 2) ชุมชนบ้านถ้ำลอด หมู่ที่ 1 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า และ 3) ชุมชนบ้านต่อแพ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม ซึ่งภายหลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจทดสอบสินค้า ในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 24 – 25 มิถุนายน 2566 นี้ ได้กำหนดจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมผดุงม่วยต่อ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ว่าที่ ร.ต. ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนัก งานแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การบูรณาการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ติดตามสถานการณ์การท่องเที่ยว ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนกับชุมชนต่าง ๆ พบว่า มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยังมีการประสานงานเข้าชมและมีคณะติดต่อมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ชุมชนบ้านถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า ที่มีชื่อสียงและการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วมบริหาจัดการนำนักท่องเที่ยวเดินและถ่อแพชุมถ้ำขนาดใหญ่ที่สวยงามเหนือจินตนา การไม่แพ้ที่ใด รวมทั้งชุมชนบ้านน้ำฮู อ.ปาย ซึ่งโดดเด่นในด้านพหุวัฒนธรรมแบบไทยใหญ่ จีนยูนนาน รวมทั้งชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการโดยชุมชน และมีจุดเด่นของจุดชมวิวทะเลหมอกหยุนไหล ที่นำเสนอประสบการณ์ต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวในแบบวัฒนธรรมผสมผสาน ตลอดจนชุมชนบ้านต่อแพ อ.ขุนยวม ซึ่งมีประวัติ ศาสตร์มายาวนาน และมีความสำคัญเกี่ยวกับสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เคยเป็ฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่น ชุมชนมีการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งด้านการนำเสนอวิถีชีวิต อาหารหารกิน ที่พักโฮมสเตย์ เส้นทางเดินศึกษาธรมชาติประวัติศาสตร์ งานหัตถกรรมแบบชาวไทยใหญ่มากมาย จากการลงพื้นที่ยังพบอีกว่ารูปแบบบการท่องเที่ยววิถีชุมชน มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่ม Silver Age กลุ่ม Genneration Y กลุ่ม กลุ่มคนทำ งานไม่พึ่งพาสำนักงาน Digital Nomad ที่ต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ และอยากสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งทาง ททท. จะต่อยอดนำเสนอขายในรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้านนายวิรัตน์ วงศ์มา แรงงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การบูรณาการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ประสานงานกับชุมชน รวมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องและเป็นประ โยชน์ต่อชุมชนในหลายด้าน รวมทั้งได้ประสานต่อยอดการพัฒนาฝีมือแรงงงาน ส่งเสริมอาชีพจากการผลิตสินค้าของที่ระลึกจากงานหัตถกรรมและสินค้าชุมชนที่มีเอกลักษณ์ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีงานทำไม่ละทิ้งถิ่นฐาน และมีรายได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากงานประจำทางด้านการ เกษตร
สำหรับชุมชนใดจะได้เป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบ “ท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถี” ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการเสนอเข้าชิงสู่การเป็นสุดยอดชุมชนต้นแบบระดับประเทศ ของกระทรวงวัฒนธรรม สามารถติด ตามการประกาศผลได้ภายหลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือก ฯ ได้ประชุมและมีมติ ฯ ในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566.
ฉลอง หมั่นสกุล
Discussion about this post