ที่หอประชุม 50 ปี โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอน แก่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการกำกับดูแลเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เขต 4 ได้จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2566 โดยมีผู้แทนชุมชน 6 ตำบลรองโรงไฟฟ้าน้ำพอง ประกอบด้วย ตำบลกุดน้ำใส ตำบลม่วงหวาน ตำบลสะอาด ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง และตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ผู้แทนแต่ละตำบลเข้าใจบทบาทการดำเนินงาน และการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณมาใช้ในการพัฒนาชุมชนตามเงื่อนไขของกองทุนไฟฟ้า
นายชินกร แก่นคง นายอำเภอน้ำพอง เผยว่า สำหรับโครงการประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายพันธมิตรการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าน้ำพอง ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการกำกับดูแลเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เขต 4 ได้จัดทำขึ้นถือว่าเป็นประโยชน์ สำหรับตัวแทนผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมในครั้งนี้ จะได้มีความรู้ความเข้าใจในการที่จะเสนอโครงการที่จะใช้งบประมาณกองทุนไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณจะมีวิธีที่หลากหลาย เช่นเดิมทีจะเป็นการของบประมาณในการทำโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ถนน ศาลาประชาคม
แต่ในยุคปัจจุบันภายใต้การกำกับของ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้พยายามนำแนวคิด หรือวิธีการเรื่องของการสร้างเศรษฐกิจชุม ชนฐานราก ในการใช้เงินส่วนนี้นำไปพัฒนา ซึ่งจะทำให้เป็นการเสนอแนวความคิดของชุมชนใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพให้พี่น้องประชาชนให้มากขึ้น ขอยกตัวอย่างเช่น เมื่อปีที่แล้ว เราได้นำเสนอว่า เราจะใช้เงินกองทุนนี้มาสร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอป ซึ่ง กฟผ.ได้มีการอนุมัติให้ทางเราแล้วที่จะก่อสร้างอยู่บริเวณเขื่อนหนองหวาย สำหรับรองรับ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในทุกตำบลของอำเภอน้ำพอง ถือได้ว่าวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำงบประมาณปี67 ของกองทุนไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อคำถามที่ว่า การเข้าถึงกองทุนพัฒนาไฟฟ้าน้ำพอง ชาวบ้านหรือชุมชน จะสามารถเข้าถึงได้อย่าง ไร นายทวีสุข นามวงษา วิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กกพ. เขต (ขอนแก่น) กล่าวว่า สำหรับงบประมาณของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในการเข้าถึงงบประมาณที่ชุมชนจะได้ประโยชน์ ทุกโครง การต้องผ่านเวทีประชาคม ต้องผ่านชุมชนที่มีความต้องการสิ่งนั้นจริง ๆ เพื่อมาพัฒนาฟื้นฟู เยียวยาในพื้นที่ของตัวเอง เมื่อมีการประ ชาคมระดับพื้นที่เข้ามา โครงการต่าง ๆ ก็จะเสนอมาที่กองทุนพัฒนาไฟฟ้า กองทุนฯ ก็จะพิจารณากลั่นกรองตามแนวทางที่ กกพ.กำหนด ซึ่งการขอโครงการต่าง ๆ ก็มีหลักเกณฑ์ หลักการ แนวทางปฏิบัติ โดยในปี 67 ทาง กกพ.ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐ กิจชุมชน ก็จะให้ทางชุมชน ที่อยู่บริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า 5 ตำบล จัดทำโครงการมุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มอาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 โอกาสในการขยายพื้นที่ของกองทุนไฟฟ้าไปมากกว่า 5 ตำบลที่กำหนดไว้ มีโอกาสเช่นกัน ซึ่งระเบียบไม่ได้ปิดกั้น หากเป็นว่าเงินกองทุนนี้สามารถนำไปพัฒนาพื้นที่นอกเขตประกาศของกองทุน สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากทางพื้นที่ 5 ตำบลรอบๆ ให้ขยายพื้นที่ไปช่วยตำบลนั้น ตำบลนี้ได้เช่นกัน
นายทวีสุข กล่าวต่อว่า ในส่วนการนำเงินกองทุนไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์ หรือสำริดผล ทางสำนักงาน กกพ.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จากการที่เราลงตรวจพื้นที่ ตรวจโครงการต่าง ๆ ก็ได้เป็นโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จก็มี ซึ่งทางสำนักงานฯ ได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการเสนอโครงการ มีการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งกลุ่ม หรือวิธีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยทางเราจะมุ่งเน้นที่ความยั่งยืนอย่างมาก สิ่งที่ทำไปจะไม่ให้เกิดเป็นอนุสาวรีย์ จะมุ่งเน้นที่การใช้งาน ซึ่งในปี 67 จะลงตรวจโดยสำนักงานกำกับพลังงาน ทำเอ็มโอยู กับคณะกรรมการปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) มาช่วยในการตรวจโครงการ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เป็นผู้แนะนำ ว่าโครงการไหนควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เป็นแผนการดำเนินงานในปี 67 นี้ด้วยวิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กกพ.เขต (ขอนแก่น) กล่าวในที่สุด.
Discussion about this post