วันที่ 27 ธ.ค.65 ที่บ้านคำพอก หมู่ที่ 4 ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สำนัก งานเกษตรจังหวัดนครพนม ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอท่าอุ เทน กิจกรรม ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ภายใต้โครง การส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2566 (พื้นที่นำร่องกลุ่มใหม่) เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตร กร ให้มีความรู้ความเข้าใจในการลดปัญหาหมอกควันและมลพิษทางอากาศ และเป็นการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วม จำนวน 60 ราย
นางสาวนิภาพร ไชยราช เกษตรอำเภอท่าอุเทน เปิดเผยว่า สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อนำไปประยุกต์และต่อยอดในการกำจัดเศษวัสดุที่เหลือใช้ทาง การเกษตร รวมทั้งการปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การสาธิตจการไถกลบตอซังข้าว และการหว่านปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) โดยมุ่งเน้นลดการเผาในพื้นที่เกษตรและที่โล่งแจ้งป้องกันปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยยึดการใช้พื้นที่และองค์ความรู้จาก ศพก. เป็นจุดต้นแบบในการเรียนรู้การหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรและใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์การทำการเกษตรในปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาในพื้นที่การเกษตร หรือการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน ก่อให้เกิดฝุ่นมลพิษในอากาศเพิ่มขึ้น อีกทั้งการเผาก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินผู้อื่น ตามมาตรา 220 คือ ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงให้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท (ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499) และหากยังมีการเผาต่อเนื่องจะทำให้ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 74 คือ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ที่ออกตามมาตรา 28/1 วรรคสอง โดยไม่มีเหตุหรือขัดข้อแก้ตัวอันสม ควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 23 มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสองต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560)
ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียมเฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคล เซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์ เซ็นต์ ทำในดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในส่วนของปอเทือง จะช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่สำคัญให้กับดินเป็นปุ๋ยพืชสดที่ประโยชน์ ทำให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตรและเป็นการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรได้เป็นอย่างดี.
Discussion about this post