เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่บริเวณลานโคปุระ สวนเกียรติพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เฉลิมพระเกียรติพระชนม พรรษา 80 พรรษา เกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานฉลอง 240 ปี จังหวัดศรีสะ เกษ สู่ขวัญบ้าน บายศรีเมือง รุ่งเรือง 240 ปี จังหวัด รับขวัญหลังจากผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมที่ผ่านมา โดยมีหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนมาร่วมเป็นเกียรติในพิธี มีประชาเดินทางมาร่วมพิธีกันอย่างคึกคัด
นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราช การจังหวัดศรีสะเกษ รักษาราช การแทนผู้ว่ารชการจังหวัดศรีสะ เกษ เปิดเผยว่า พิธีเปิดงาน เฉลิมฉลอง 240 ปี จังหวัดศรีสะเกษ “สู่ขวัญบ้าน บายศรีเมือง รุ่งเรือง 240 ปี จังหวัดศรีสะเกษ” ในวันนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความภาคภูมิใจใน ประวัติศาสตร์อันเจริญรุ่งเรืองของเมืองศรีสะเกษมาตามลำดับ และเพื่อสำนึกรำลึกถึง บุญคุณ ของบรรพบุรุษ ผู้สร้างบ้านแปงเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อรับขวัญพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา ร่วมถึงเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ได้จำหน่ายผ้าเบญจศรี อาหารพื้นบ้าน ธุรกิจด้านการ ท่องเที่ยว ที่ พักและโรงแรม ตลอดทั้งได้ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายประหยัด พิลา วัฒน ธรรมจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า สําหรับการจัดงานในปีนี้ กำหนดจัดงานจำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 บริเวณสวนสาธารณะลานออดหลอด อนุสรณ์ 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษ และบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) อำเภอเมืองศรีสะเกษ
โดยมีกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย พิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมกันทุกอำเภอ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทําบุญตักบาตร , พิธี “สู่ขวัญบ้าน บายศรีเมือง รุ่งเรือง 240 ปี จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้พรามประ กอบพิธีสู่ขวัญ 22 ท่าน ทามกลางบายศรี 240 ปี จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบายศรีที่ถือว่าสูงที่สุดใรโลก ซึ่งมีความความสูง 4 เมตร โดยบายศรีจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนยอดเป็นรูปทรงปราสาทขอมแสดงถึงการบูชาเทพบรรพบุรุษ ความสูง 240 เซนติเมตร ทำจากใบตองกล้วยตานี ชั้นกลางเป็นฐานบายศรีเอก ประดับตกแต่งด้วยลายหยวกกล้วย ด้วยภูมิ ปัญญาการแทงหยวกกล้วย แบบโบราณ ความสูง 160 เซนติเมตร ทำจากหยวกกล้วยตานี ชั้นล่างเป็นบายศรีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ แบบโบราณ เพื่อบูชาบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยภูมิปัญญาความเชื่อแบบโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว เขมร ส่วย และเยอ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
นอกจากนี้ยังมีการเป่าสะแน(เขาควาย)เป็นบทเพลงจำนวน 240 ท่าน การรำเฉลิมฉลอง 240 ปี จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนางรําจากส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรและอำเภอทุกอำเภอ ร่วมรำกว่า 3,500 ท่าน การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัดศรีสะเกษ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม หรือดนตรีในสวน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้จังหวัดศรีสะเกษ กลับมาคึกคักอีกครั้ง สร้างรายได้สร้างเศรษฐกิจให้กับคนในจังหวัดศรีะเกษ.
Discussion about this post