วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ที่จังหวัดนครพนม ชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมโครง การจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 3 ที่สำนัก งานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทโปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแทนส์ จำกัด และ บริษัทเมก้าเทค คอนซัลแทนส์ จำกัด เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์ และจัดทำผังลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำข้อเสนอแนะในการใช้ประ โยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ ใช้ข้อมูลผังน้ำประกอบการสนับสนุนแผนป้องกันและแก้ ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมถึงการจัดสรรการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผังน้ำให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่รัฐบาลได้กำหนดให้ สทนช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการและคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทำการเร่งศึกษา เพื่อจัดทำผังน้ำขึ้นภายใน 2 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้จังหวัดในภาคอีสานตอนบนต้องพึ่งพาอาศัยเรื่องน้ำเป็นหลัก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร และน้ำที่ว่าก็มาจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาย่อยต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมามักประสบปัญหา ถ้าไม่แล้งก็น้ำท่วม เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การตื้นเขินของแหล่งน้ำทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอ และจังหวัดก็ได้มีการจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ ลงไป เพื่อให้ความช่วยเหลือ ในการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้ให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และด้วยรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของน้ำ จึงได้มี พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำออกมา จึงเป็นที่มาของการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 47,161.97 ตารางกิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนมาตรฐานและการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน รวมถึงมีความสอด คล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงฤดูน้ำหลากหรือช่วงฤดูแล้ง โดยการประชุมในวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ สทนช. จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนครพนมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนนำไปปรับปรุงผังน้ำจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา เช่น ความคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วม การกำหนดขอบเขตพื้นที่ทางน้ำหลาก การแบ่งโซนพื้นที่ในร่างผังน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ของผังน้ำ มาตรการด้านการลดใช้น้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ ร่วมถึงความคิดเห็นต่อร่างผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต.
Discussion about this post