วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เขื่อนนเรศวร อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จากกรณีประตูกั้นน้ำ 1 บานของเขื่อนนเรศวรเกิดพังชำรุดลงใต้น้ำทำให้ไม่สามารถใช้การได้ 1 บานจากทั้งหมด 5 บาน ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำน่าน สูงขึ้น เช้าวันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลกและผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำเขื่อนนเรศวร ได้มาติดตามสถาน การณ์ โดยผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ยืนยันว่าประตูที่ชำรุดของเขื่อนนเรศวร จำนวน 1 บานนั้นไม่ ส่งผลกระทบกับการบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำน่านเพราะ ยังมีประตูที่ใช้ได้อีก 4 บาน และจะเร่งดำเนินการซ่อมแซมในวันนี้ ขณะที่โครงสร้างของเขื่อนก็มั่น คงแข็งแรง ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกสู่แม่น้ำน่านจากเขื่อนนเรศวรประมาณ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ช่วงนี้น้ำในแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านเมืองพิษณุโลกมีระดับสูงขึ้น ณ วันนี้อยู่ที่ระดับ 8 เมตรแล้ว และคาดการณ์ว่าตั้งแต่เย็นนี้ จะถึงที่ระดับ 9 เมตร จากจุดวิกฤติ 10.37 เมตร เนื่องจากน้ำสูงสุด จากอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ กำลังไหลลงมาสู่เขื่อนนเรศวร
นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวว่า วันนี้ได้เดินทางมาประชุมติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณเขื่อนนเรศวรซึ่งเป็นเขื่อนที่รับน้ำจากแม่น้ำน่านหลักๆ คือดูการบริหารจัดการน้ำในลำน้ำน่าน อันดับแรกต้นน้ำของลำน้ำน่านที่ผ่าน จ.พิษ ณุโลก ต้นน้ำคือเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่ง ณ ขณะนี้ทางเขื่อนสิริกิติ์ได้หยุดการระบายน้ำออกเหลือเพียงเก็บน้ำอย่างเดียว ความจุในเขื่อนตอนนี้ประมาณ 67% ของความจุเขื่อนฉะนั้นยังสามารถรองรับน้ำได้อีกเยอะ แต่ปริมาณน้ำใต้เขื่อนในช่วงที่โนรูเข้ามาทำให้เพิ่มน้ำใต้เขื่อนค่อนข้างเยอะ ปริมาณน้ำไหลผ่านในลำน้ำน่านที่เป็นมวลน้ำก้อนใหญ่ประมาณ 1017 คิว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องเผชิญของเขื่อนนเรศวรคือการรับน้ำ 1017 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( คิว) ซึ่งเขื่อนนเรศวรสามารถรองรับน้ำได้ 1600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( คิว) เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการใน 5 ประตู ของเขื่อนนเรศวรสามารถจะบริหารจัดการน้ำระบายน้ำ สามารถจะคอนโทรลน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อด้านใต้คือตัวเมืองพิษณุโลก
และในช่วงเช้าวันนี้มีการปรากฏข่าวในโซเชียลมีเดียว่าบานประตูระบายน้ำ สลิงขาดทำให้บานประตูหล่นลงไปประกอบกับในช่วงเช้าวันนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้ประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ วันนี้จึงลงพื้นที่เพื่อประชุมร่วมกับกรมชลประทานที่ 3 ผู้อำนวยการเขื่อนนเรศวร ผู้อำนวยการชลประ ทานจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง เตรียมแผนรับมือแต่ผลสรุปจากการประชุม คือเขื่อนนเรศวรมีบานประตูนำหรับระบายน้ำทั้ง หมด 5 บาน ซึ่งมวลน้ำสูงสุดของเรามาที่ 900 คิวเท่านั้น เพราะฉะนั้นเรารอรับ 1017 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ( คิว) ที่จะมาถึง ซึ่งคาดว่าจะมาถึงเราในช่วงเย็นหรือค่ำๆ ของวันนี้ เพราะฉะนั้นในส่วนของบานประตูน้ำที่ยังใช้การได้อีก 4 บาน เรายังสามารถที่จะคอนโทรลน้ำได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อด้านท้ายเขื่อนหรือตัวเมืองพิษณุโลก และได้ทำการประสานกับทางเทศบาลนครพิษณุ โลกว่าบานประตู 4 บานของเขื่อนนเรศวรยังสามารถคอน
โทรลน้ำคำนวณกับบานประตูที่ชำรุด อัตราการปล่อยลงไปยังไงก็ไม่ให้เกิน 1000 คิวที่จะระบายน้ำลงไปแน่นอน
ขณะที่ในการซ่อมแซมบานประตูที่ชำรุด นั้นจะใช้ตัว Stop lock กั้นและทำการสูบน้ำออกและทำการซ่อมบานประตูที่ชำรุดใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน ก็แล้วเสร็จ ส่วนเรื่องของรอยร้าวต่างๆ ของเขื่อนจากการตรวจสอบยืนยันว่าไม่กระทบต่อตัวโครงสร้างของเขื่อนฯแน่ นอน เป็นแค่ปูนที่กะเทาะภายนอกของตัวเขื่อน ถ้าสถานการณ์น้ำเข้าสู่สภาวะปกติก็จะดำเนินการซ่อมแซมให้ปกติตามเดิม
ส่วนเรื่องปริมาณน้ำที่ตัวเมืองพิษณุโลกขณะนี้สูงถึง 9 เมตรนั้น ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล ทุกฝ่ายจะชะลอน้ำคอนโทรลน้ำไม่ให้กระทบต่อตัวเมืองพิษณุโลกแน่นอน เราจะพยายามยามไม่ให้เกิน 9 เมตร (จุดวิกฤติ 10.37 เมตร )แต่หากเกินควบคุมจริงๆ เราจะทำการบล็อคน้ำที่ 2 ลำน้ำ คือ ลำน้ำยม กับลำน้ำแควน้อย เพราะฉะนั้นเราจะสกัดน้ำไว้ได้อีกส่วนหนึ่งให้จราจรน้ำที่ผ่านลำน้ำน่านอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ดังนั้นขอให้ประชาชนมั่นใจและเชื่อใจว่าทางเขื่อนนเรศวรยังสามารถคอนโทรลน้ำได้ โดยเฉพาะมวลน้ำที่กำลังเดินทางเข้ามาอีกได้อย่างแน่นอน.
Discussion about this post