![สุโขทัย สานต่อ U2T ที่นี้ย่านยาว และสืบสานภูมิปัญญา สร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนท่าทองใน จ.สุโขทัย 2 DSCN5044](https://i0.wp.com/www.talknewsonline.com/wp-content/uploads/2022/09/DSCN5044-640x427.jpg?resize=640%2C427)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก ลงพื้นที่ตำบลย่านยาวและตำบลท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังวิกฤตโควิค-19ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการชุม ชนสามารถใช้ผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มมูลค่าผลผลิต สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผลผลิตมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ เพิ่มรายได้ผลผลิต 10% เป็นอย่างน้อย
วันที่ 15 กันยายน 2565 บริเวณโดมเอนกประสงค์ อบต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย คณะผู้ดำเนินงานจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก ตามโครงการ “สานต่อ U2T ที่นี้ย่านยาว” สืบสานภูมิปัญญา สร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนตำบลท่าทอง “สร้างงานใหม่ ให้อาชีพ for U2T ณ ท่าทอง” ร่วมกับ ผู้ประกอบการชุมชนนำร่องในพื้นที่ตำบลย่านยาวและตำบลท่าทองคือ ฟาร์มปูนาชญาดา ,กลุ่มแม่บ้านกระเป๋าสานเชือกกล้วยตานี , ผลิตภัณฑ์กล้วยแท่งอารมณ์ดี , บ้านสวนอบอุ่น ต.ท่าทองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรละมุดแบบเกษตรอินทรีย์สุโขทัย ฯลฯ จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ของสองตำบลรวมทั้งนำผลิตภัณฑ์ของทั้งสองตำบลมาออกร้านจัดนิทรรศ การสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ที่สนใจได้เยี่ยมชม โดยมีการนำเสนอและแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการ อาทิ ฟาร์มปูนาชญญาดา เดิมมีผลิตภัณฑ์เดิม 11รายการ สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่จากโครงการอีก 4 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้านกระเป๋าสานเชือกกล้วยตานีได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและมีความทันสมัย ขณะที่กล้วยแท่งอารมณ์ดีมาจากวัตถุดิบกล้วยน้ำว้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่และบางช่วงเวลาจะราคาถูกก็นำมาแปรรูปเป็นกล้วยตากมีกระบวนการอบฆ่าเชื้อสะอาดปลอดภัยรวมทั้งตัวผลิตภัณฑ์ได้บรรจุกระปุกพัฒนาฉลากให้ทันสมัยให้ตรงใจผู้บริโภคในการซื้อหารับประทานหรือเป็นของฝาก รวมถึงก้านกล้วยอบแห้งใช้นำไปรองภาชนะกันกระแทกและกระดาษจากเยื่อกล้วยอีกด้วย
ขณะที่ในพื้นที่ตำบลท่าทองนั้นได้พัฒนาสินค้าจากพืชผลทางการเกษตรซึ่งมีจำนวนมากเกิดภาวะล้นตลาดถูกทิ้งเป็นของเหลือทั้งกล้วยน้ำว้าและมะกรูดนำมาทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวนทั้งสิ้น 10 รายการได้แก่ ไซรัปกล้วย, พิซ ซ่ากล้วย,แยมกล้วย,แชมพูมะกรูดสำหรับสุนัข,ครีมล้างมือมะกรูด, ก้านหอมอโรมา,น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด,น้ำมะกรูดเข้มข้น 100% ,เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพน้ำมะกรูดไซรัปกล้วยโซดา,มะกรูดเชื่อม ฯลฯ
![สุโขทัย สานต่อ U2T ที่นี้ย่านยาว และสืบสานภูมิปัญญา สร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อความยั่งยืนของชุมชนท่าทองใน จ.สุโขทัย 3 DSCN4979](https://i0.wp.com/www.talknewsonline.com/wp-content/uploads/2022/09/DSCN4979-640x427.jpg?resize=640%2C427)
รศ.ดร.ณัฏฐิรา ทับทิม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มรภ.พิบูลสงคราม กล่าวเปิดเผยว่า ทางคณะฯ มีทีมงานภายใต้การนำของ ดร.อุมาภรณ์ ยศเจริญ เป็นหัวหน้าทีมในการดำเนินงานซึ่งในพื้นที่จะมีการรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ชุมชนกันอยู่แล้วซึ่งทางเราได้นำความรู้ทางด้านวิชาการเข้ามาช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นรวมถึงส่งเสริมให้มีการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกหลายรายการและจากการดำเนินงานซึ่งตัวชี้วัดจะอยู่ที่รายได้ของชุมชนจะต้องมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10% ซึ่งทางเราและชุมชนมีความคาดหวังในการทำงานครั้งนี้เรามีเวลาจำกัดเพียงแค่ 3 เดือนทำให้ทางทีมงานต้องลงพื้นที่อย่างเข้มข้นในการดำเนินงานจนทำให้กระ บวนการต่างๆทำได้อย่างราบรื่นแม้เวลาจะจำกัดได้ทำการส่งเสริมการขายได้ออกงานจำหน่ายผลิต ภัณฑ์ทั้งงานเกษตรแฟร์ที่สุโขทัยและงานอื่นๆรวมแล้ว 4 ครั้งถ้าชุมชนใดสนใจสามารถประสานและสอบถามไปทางคณะฯได้
ด้าน ดร.อุมาภรณ์ ยศเจริญ อ.ประจำวิชาภาษาอังกฤษ ในฐานะหัวหน้าทีมดำเนินงานกล่าวว่า ตามโครงการพัฒนา U2T หรือ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยา ลัยนี้เกิดจากการเข้าช่วยกันพัฒ นาผลิตภัณฑ์ในชุมชนและนำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าก่อให้เกิดอาชีพใหม่รายได้ใหม่เกิดผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆเพิ่มมูลค่าทางการตลาดโดยอยากจะฝากไปถึงทุกชุมชนถ้ามีผลผลิตทางการเกษตรมีผลิตผลต้องการแปรรูปการพัฒนาผลิตผลทางคณะฯยินดีให้บริการสามารถติดต่อได้เพื่อการพัฒนาผลิต ภัณฑ์อย่างยั่งยืน
ขณะที่นายนราธิป ภูมิถาวร เกษตรกรเจ้าของฟาร์มปูนาชญาดา ต.ย่านยาว กล่าวในเรื่องนี้ว่า ทางฟาร์มได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานจนประสบความสำเร็จและจากโครงการ U2T นี้ ก็ยังทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของฟาร์มทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 50% จากยอดการผลิตของฟาร์มแต่เดิมที่มีอยู่แล้วจนทำให้เกิดการรวมตัวของเกษตรกรมีการจ้างงานมีสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นต้องยอมรับว่าเป็นโครงการที่ดีเยี่ยมทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานในแต่ละส่วนของเราเองเอาสิ่งที่เรามีมาต่อยอดสร้างมูล ค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี.
Discussion about this post