เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ที่เรือนจำชั่วคราวทุ่งปูโป๊ะ หมู่ที่ 6 ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นายวินัย หมวกมณี ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอเบตง มอบหมายให้นายมูหมัดยูซุป เบ็ญอาซิส นักทัณฑวิทยาชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ให้การต้อนรับการศึกษาดูงานโครง การพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนา แห่งน้ำใจและความหวังกรมราช ทัณฑ์” จากลูกเสือจิตอาสาพระราชทานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 3 จำนวน 80 คน และวิทยากรลูกเสือ 17 คน
นายมูหมัดยูซุป เบ็ญอาซิส นักทัณฑ วิทยาชำนาญการ รักษาการในตำ แหน่งผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง กล่าวว่า โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและ ความหวัง กรมราชทัณฑ์” เป็นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้แก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับพระราชทานอภัย โทษ อันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษออกไปนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตของผู้พ้นโทษ จึงได้พระราชทานโครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราช ทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ในการฝึกอบรมผู้ต้องขังอันจะเป็นพื้นฐานในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ และการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวภายหลังพ้นโทษ
สำหรับการฝึกโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การอบรมพึ่งตนเองด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิด การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ชุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคมลงบนกระดาษ การสร้างพื้นที่จำลอง (Table Top Exercise) และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4อย่าง เพื่อพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่ม เย็น การปฏิบัติพื้นที่จริงตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านปั้นโคก ขุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคม และขั้นที่ 3 การสรุปและประเมินผล
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่จะได้รับการพันโทษในโอกาสต่อไป จะได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ตามภูมิลำเนาของตนเองอันเป็น การสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป.
Discussion about this post