เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขเชียงใหม่ กว่า 40 คนนำโดยนายพลอย โพธิ์แก้ว พร้อม นายขวัญใจ ชัยมงคล นายธีรวัฒน์ใจนันตา นายพุทธศร ชวาลาชลธี และ นางสุจิลักษณ์ พิพัฒนณ์ปกรณ์ ได้เข้าพบนายสุริยะ คำปวง สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอความช่วยเหลือ เนื่องจากได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขเชียงใหม่ จำกัด ที่มีมติให้งดจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการให้แก่สมาชิกที่เกษียณอายุราชการ และเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 88 ราย ซึ่งสมาชิกดังกล่าวเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับสหกรณ์ดังกล่าว ก่อนนายพลอย พร้อมตัวแทน 5 คน เข้าร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อหารือแก้ปัญหาดังกล่าว โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง
ระหว่างการประชุมดังกล่าว สมาชิกสหสกรณ์ฯ ได้ชูป้ายหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อความว่า “คนเป็นสมาชิกก่อน กลับได้รับเงินสวัสดิการน้อยกว่า คนเป็นทีหลัง เอาอะไรมาคิด” “กรรมการทำไม? ไม่ช่วยสมาชิก” และ “ผู้สูงวัย 88 คน ยังไม่ได้รับสวัสดิการ” ทั้งนี้นางบุษกร เสตังคะบุตร อายุ 81 ปี อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สมาชิกลำดับที่ 64 ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่ก่อตั้ง ได้เรียกร้องความเป็นธรรม โดยระบุว่า สมาชิกที่เกษียณอายุราชการ และเป็นผู้สูงอายุ ได้รับเงินกองทุนสวัสดิการดังกล่าว รวม 199 ราย แต่ได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวเพียง 111 ราย ยังค้างอีก 88 รายที่ไม่ได้รับเงินดังกล่าว จึงอยากให้สหกรณ์พิจารณาจ่ายเงินสวัสดิการดังกล่าวให้ครบทุกราย
ต่อมานายพลอย ได้ชี้แจงถึงการประชุมดังกล่าวว่าได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจซึ่งสหกรณ์จังหวัดเ รับเป็นสื่อกลางเพื่อเปิดเวทีให้สองฝ่าย ได้เจรจากันอีกครั้งเพื่อหาทางออกและยุติปัญหาอย่างสันติวิธี ไม่ต้องถึงขั้นฟ้องร้องตามกฎหมายเนื่องจากเป็นบุคลากรทางการแพทย์ และเคยร่วมทำงานในองค์กรเดียวกัน
จากนั้นนายพลอย พร้อมสมาชิกสหกรณ์ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือกับ น.ส.สมถวิล เทพศิริ ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขเชียงใหม่ เพื่อติดตามเรื่องดังกล่าว พร้อมทำความเข้าใจ ก่อนประชุมหารือ เพื่อหาทางออกเรื่องดังกล่าวต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านั้น นายสุริยะ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังนางสุจิลักษณ์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม หรือ 20 วันที่ผ่านา ว่า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ไม่สามารถก้าวล่วงการบริหารของสหกรณ์ หรือมีคำสั่งยกเลิกการดำเนินงานสหกรณ์ได้ เนื่องจากคณะกรรมการสหกรณ์ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องราว หรือปัญหาทั้งปวงที่เกิดาจากการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว และต้องได้รับความเห็นขอบจากคณะกรรมการดำเนินการที่เข้าประชุมด้วยมติเสียงเกินครึ่งหนึ่ง มติที่ประชุมของคณะกรรมการดังกล่าว ถือเป็นสิ้นสุดด้วย
////////////////////////
ทีมข่าว Talknews online รายงาน
Discussion about this post