เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 กลุ่มชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 8 ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ที่ต้องเผชิญชะตากรรมกับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง วันนี้ทางกลุ่มชาวบ้านได้เชิญตัวแทนของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คือ ทีมงานของพรรคก้าวไกล และสื่อมวลชนจังหวัดแพร่ เข้าตรวจดูพื้นที่จริง ที่บริษัททำเหมืองได้รับสัมปทานในอดีต ซึ่งเหมืองแห่งนี้ถูกปิดไปราว 2 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีการทำเหมืองบุกรุกนอกเขตสัมปทาน ซึ่งคดียังคงอยู่ที่ กรมป่าไม้ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ
การที่ชาวบ้าน ต้องออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการทำเหมืองอีกครั้ง เพราะทราบว่า เจ้าของเหมืองรายเดิมกำลังขอสัมปทานใหม่ในบริเวณภูเขาต้นน้ำของ”ลำน้ำแม่สวก” บริเวณเดียวกัน ที่สำคัญจุดเริ่มต้นของการขอสัมปทาน ต้องมีความเห็นชอบจากคนในพื้นที่เสียก่อน ปรากฏว่า การขอประชามติจากชาวบ้านฯ ในพื้นที่ได้รับผลกระทบและใกล้เหมืองที่สุด ทางการไม่อนุญาตให้เข้าร่วมเวทีอย่างเด็ดขาด
ชาวบ้านหาทางออกให้กับตนเองไม่เจอจึงนำเรื่องหารือ “ทีมงานของพรรคฝ่ายค้านและสื่อมวลชนไปที่”ต้นน้ำแม่สวก” ที่เป็นสายเลือดสำคัญของชุมชน ที่ถูกขี้แร่ตะกอนดินไหลลงจากเขาทับถมลำน้ำจนตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ แบะยิ่งนักไปกว่านั้น ชาวบ้านไม่สามารถทำการเกษตรได้อย่างที่เคยทำมาวิถีชีวิตเปลี่ยนไปหมด แม้ว่าเหมืองถูกปิดไปแล้วนานกว่า 2 ปี แต่ผลกระทบยังคงอยู่ ส่วนการพังทลายของภูเขาบริเวณทำเหมืองมีอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นในกระบวนการทำเหมืองฯ ยังสร้างผลกระทบอีกหลายด้านทั้งมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นพิษ เสียงการทำเหมืองในเวลากลางคืน รถบรรทุกเข้าออกผ่านหมู่บ้านจำนวนมาก
นางสาวสมใจ ต๊ะเอ้ย อายุ 40 ปี บ้านเลขที่ 110 หมู่ 8 ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ แกนนำกล่าวว่า ชาวบ้านต้องทนกับเหมืองแร่มานาน ที่สร้างผลกระทบมากมาย ที่สำคัญแหล่งน้ำของหมู่บ้าน ป่าต้นน้ำ ลำห้วยเสียหายอย่างหนัก ชาวบ้านต้องรับกรรม จากการกระทำที่ไร้น้ำใจ แต่อยู่มาพบว่า เหมืองรุกเข้าทำเหมืองในพื้นที่นอกเขตสัมปทาน ทำลายป่าเพิ่มจำนวนมากชาวบ้านพยายามร้องเรียนจนทำให้กรมป่าไม้ ส่งเจ้าหน้าที่ฯ เข้าตรวจสอบพร้อมทหาร ได้จับกุมดำเนินคดี สั่งอายัดเครื่องจักรไว้ทั้งหมด “เหมือง” ถูกคำสั่งปิดตาย แต่ผลกระทบไม่ได้หยุดตามเหมือง ยังคงมีปัญหาการพังทลายของดินและหิน สร้างความเสียหายมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ได้มีหนังสือให้ชาวบ้านหมู่ 8 ต.ต้าผามอก เข้าร่วมทำประชามติอนุญาตให้สัมปทานทำเหมือง โดยคนทำเหมืองเป็นบริษัทเดิม เข้ามาขอสัมปทานในพื้นที่เดิมๆ ทางชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ฯ ได้พยายามร้องเรียนเพื่อให้ระงับการขออนุญาตประทานบัตร เพราะผู้ที่ยื่นขอประทานบัตรเป็นผู้ที่เคยทำผิดกฎหมายป่าไม้ในบริเวณนี้คดียังไม่สิ้นสุดแต่กลับเงียบหายไป ที่สำคัญการทำประชามติครั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ประชาชนในหมู่ที่ 5 เข้าร่วมแม้ว่าเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เหมืองมากที่สุดก็ตาม
ผู้สูงอายุรายหนึ่ง กล่าวกับว่า ในช่วงการทำเหมืองแรกๆเจ้าของเหมืองมีแค่ปิคอัพเก่าๆ 1 คันเท่านั้น หลังจากการทำเหมืองผ่านไปสักระยะหนึ่งเริ่มมีรถเครื่องมือเครื่องจักรเครื่องกลนานับไม่ถ้วน เข้ามาอยู่ในบริเวณเหมืองมาทำเหมืองกันอย่างสนุกสนาน มีรถเข้าออกเหมืองผ่านหมู่บ้าน จนทำให้ถนนพังได้รับความเสียหายอย่างหนัก
“ตนเองเห็นความเสียหายให้กับหมู่บ้านชุมชน เนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดเส้นทาง จึงใช้”ต้นกล้วย” ไปปลูกกลางถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อเพียงต้นเดียวเท่านั้น แต่รถที่เข้าออกก็เพียงแค่เว้นต้นกล้วยเท่านั้นแต่ก็ไม่มีการดำเนินการแก้ไขให้กับชาวบ้านแต่อย่างใดทั้งๆที่รถเรานั้นสามารถดำเนินการได้เพียงเอาดินเอากากแร่ในพื้นที่หรือว่าลูกรังใกล้เคียงในพื้นที่มาถมถนนเพื่อให้ถนนหายจากเป็นหลุมเป็นบ่อแต่ก็ไม่มีน้ำใจให้กับชุมชนแม้แต่น้อยซึ่งเรื่องเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดให้กับตนเองและพี่น้องชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นความเจ็บปวดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 45 ปี เหมืองแร่ เกิดขึ้นกล่าวประมาณปี 2520
ทางนักวิชาการ สื่อมวลชน และชาวบ้าน
“สุดอนาถใจ” ที่ถูกเหยียบยำกว่า 45 ปี จู่ๆหลัง “รัฐ” เตรียมอนุญาต “เปิดสัมปทานทำเหมืองแร่” ที่อยู่ป่าต้นน้ำอีกต่างหาก เป็นเรื่องน่าแปลกมาก ที่ผู้ได้รับผลกระทบและอยู่ใกล้จุดทำเหมืองมากที่สุด กลับไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงเรื่องนี้คิดว่าไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ซึ่งทางจังหวัดแพร่ มีหนังสือตอบมาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่า พื้นที่ที่อยู่ใกล้เหมืองและอยู่ในแนวผลกระทบรุนแรงอยู่นอกเขตปกครองพื้นที่ขอสัมปทาน
และนางสาวสมใจฯพร้อม ชาวบ้านเข้าร้องไปยัง นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มาแล้ว ทำหนังสือร้องไปยังกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่พบว่าไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจ มีเพียง”พรรคก้าวไกล” และสื่อมวลชน เข้าลงมาดูพื้นที่ว่า มีผลกระทบอย่างไรและที่ชาวบ้านจะต่อสู้ต่อไปเพื่อปกปักรักษาพื้นที่ป่าแหล่งน้ำ ถือว่าเป็นสายเลือดใหญ่ของชุมชน หมู่บ้านต่อไปแม้ว่าไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจก็ตาม
จากการเข้าพื้นที่ พบเศษเหลือ “ความอัปยศอดสู” จากการทำเหมืองแร่ ยังคงสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านอิม หมู่ 5 และหมู่ 8 ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ และยังมีอีกหลายหมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำ “แม่สวก” ซึ่งชาวบ้านที่อยู่ปลายๆน้ำก็ได้รับผลกระทบ เตรียมมีการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ให้กับชุมชนที่ถูกเหยียบย่ำมานานกว่า 45 ปี “ขอคืนป่าคืนให้ชุมชนสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนเพื่อลูกเพื่อหลานต่อไป
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post