
วันนี้ 24 ก.พ.65 ที่ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ รีเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย อาจารย์ธนวัฒน์ พรหมสุข รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดแสดงมรดกภูมิปัญญา “มรดกสิ่งทอภาคใต้ ผ้ายกตานี” มาเผยแพร่ในงานครบรอบ “100 ปี ราชภัฏพิบูลสงคราม เทิดไท้องค์ราชัน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565 โดยภายในงานมีการจัดบูทนิทรรศการมรดกสิ่งทอของ 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏ กิจกรรมเดินแบบผ้าไทยอีกด้วย “ผ้ายกตานี” หนึ่งในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านการสั่งสม สืบทอดกันมาเป็นเวลานับร้อยปี จัดเป็นผ้าทอชั้นดีที่มีความวิจิตรงดงามและนิยมใช้ในหมู่ชนชั้นสูง โดยชื่อเสียงเรียงนามของ ยกตานี นั้นได้รับกล่าวขานกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี อยุธยาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลได้ทรงนำเอาชื่อผ้าชนิดนี้ไปกล่าวไว้ในบทพระนิพนธ์ เรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ ครั้นมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผ้ายกตานีก็ได้ถูกล่าวขานขึ้นอีกครั้งในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ดาหลัง ในพระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้นำกลับมารื้อฟื้นใหม่ ด้วยเทคนิคการย้อมสีเส้นใยจากวัสดุธรรมขาติ ฝีมือการทอโดยกลุ่มทอผ้าบ้านไม้แก่น ตำบลไม้แก่น จังหวัดปัตตานี “โครง การยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิ วาส “ ภายใต้การดูแลของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาอีกด้วย.
Discussion about this post